ข้อมูลหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ข้อมูลหลักสูตร

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) 

ระดับ ปริญญาเอก
คณะ / สถาบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์
เว็บไซต์ https://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egen/

ชื่อปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะ และความรู้ความสามารถแบบบูรณาการทางด้านวิศวกรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ทั้งสองสาขาวิชานี้ได้ถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ใน การทำงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยดุษฎีบัณฑิตจะมี ความเชี่ยวชาญและทักษะในด้านการวิเคราะห์ การออกแบบ การประเมิน และการประยุกต์เครื่องมือต่าง ๆ ในงานทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ดุษฎีบัณฑิตยังมีความรู้และทักษะทาง การวิจัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดองค์ความรู้เดิมเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ อีกทั้งต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในการนำความรู้ ความสามารถไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และประเทศ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ ๑.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๑ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
หมวดวิชาบังคับ 6            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48            หน่วยกิต
แบบ ๒.๒ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 48            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 72            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. Environmental or Sanitary Engineer with the expertise to work for government agencies and private companies in the Environmental Engineering field 2. Water Resources Engineer with the expertise to work for government agencies and private companies in the Water Resource Engineering field 3. Researchers, academic experts who are highly skilled and capable in applying knowledge gained from the Environmental and Water Resources Engineering Program for the research and development 4. Consultants to motivate and assist the government in the processes of developing policies, laws and regulations for the protection, preservation and management of the environment and water resources 5. Entrepreneurs in the Environmental and Water Resources Engineering fields

รายวิชาในหลักสูตร

แบบ 1

วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วศสท๘๙๘ : วิทยานิพนธ์ 48

แบบ 2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วศสท๕๑๑ : วิศวกรรมคุณภาพน้ำ 3
วศสท๕๑๓ : การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย 3
วศสท๕๒๑ : ระบบทรัพยากรน้ำและการสร้างแบบจำลอง 3
วศสท๖๑๓ : สัมมนาและระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๖๑๔ : การออกแบบการทดลองและแบบจำลองสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วศสท๖๑๓ : สัมมนาและระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๖๑๔ : การออกแบบการทดลองและแบบจำลองสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
วศสท๕๑๒ : วิศวกรรมมลพิษทางอากาศ 3
วศสท๕๓๑ : กระบวนการทางเคมีกายภาพ 3
วศสท๕๓๒ : กระบวนการทางชีวภาพ 3
วศสท๕๓๔ : เทคโนโลยีเมมเบรน 3
วศสท๕๓๕ : การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ 3
วศสท๕๓๙ : การประเมินวัฏจักรชีวิต 3
วศสท๕๔๐ : วิศวกรรมการควบคุมสารมลพิษขนาดเล็ก 3
วศสท๕๔๑ : จุลชีววิทยาน้ำเสียประยุกต์ 3
วศสท๕๔๓ : การจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง 3
วศสท๕๔๔ : การวางแผนและการจัดการระบบอ่างเก็บน้ำ 3
วศสท๕๔๕ : อุทกสารสนเทศทางวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๖ : ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๗ : ระบบภูมิสารสนเทศสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ 3
วศสท๕๔๙ : การศึกษาพิเศษ 3
วศสท๕๕๐ : วิศวกรรมประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี
วศสท๗๙๙ : วิทยานิพนธ์ 48
   สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
วศสท๖๙๙ : วิทยานิพนธ์ 36

อาจารย์ประจำหลักสูตร

  1. รองศาสตราจารย์ ดร. ตระการ ประภัสพงษา   (ประธานหลักสูตร)
  2. รองศาสตราจารย์ ดร. อารียา ฤทธิมา
  3. รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจนา นาคะภากร
  4. รองศาสตราจารย์ ดร. สุวรรณา บุญตานนท์
  5. รองศาสตราจารย์ ดร. กฤตณะ พฤกษากร
  6. รองศาสตราจารย์ ดร. จุฬารัตน์ ศักดารณรงค์
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิระ ศรีนิเวศน์
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิดาภา ไกรสังข์
  9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิสา มหาสันทนะ
  10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีรวุฒิ ชัยวัฒน์
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมศิริ เซียววัฒนกุล
  12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณวัชร สุรินทร์กุล
  13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุทธนา พันธุ์กมลศิลป์
  14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน
  15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัจนันท์ มัตติทานนท์
  16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอริกา พฤฒิกิตติ
  17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รมณีย์ ทองดารา
  18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาทิตย์ โพธิ์ศรี
  19. อาจารย์ ดร. กฤษณัส สุรกิตย์
  20. อาจารย์ ดร. นรินทร์ บุญตานนท์
  21. อาจารย์ ดร. วุฒิชาติ แสวงผล

ผู้สนใจเข้าศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ gradthai@mahidol.ac.th or LINE Official @160ohrzm

สร้างโอกาสของความเป็นผู้นำ ที่สุดของการเรียนรู้กับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สร้างโอกาสให้ทุกฝันของคนรุ่นใหม่ ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่