พัฒนาทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม  สมัครร่วมกิจกรรม
  •  
  • 0 2441 4125 ต่อ 130-131

*** หมายเหตุ : นักศึกษาสามารถตรวจสอบว่ามีการบันทึกข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรม และใบ certificateใน profile ของนักศึกษาภายหลังจากเสร็จกิจกรรม 5 วัน

 

นโยบายและความเป็นมา

ความเป็นมา

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การที่นักศึกษาจะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องมีมากกว่าความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียน การพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคม ที่เรียกกันว่า Soft skills ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายบัณฑิตวิทยาลัย จึงกำหนดให้มีการพัฒนาทักษะ Soft skills ให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของบัณฑิตวิทยาลัย ที่ต้องการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่ตอบสนองต่อพลวัตโลก โดยมอบหมายให้ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการบริหารกิจการนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทุกส่วนงานที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะ Soft skills ขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการ พัฒนาทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม (ProProfessional and Personal Skills Development)

โดยกำหนดทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม ที่เป็นพื้นฐานที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่
Soft Skills
Health Literacy Skills

(สำหรับนักศึกษารหัส 62 เป็นต้นไป)

Soft Skills
Entrepreneurial Literacy Skills

(สำหรับนักศึกษารหัส 62 เป็นต้นไป)

Soft Skills
Communication and Language Skills
Soft Skills
Digital Literacy Skills

(สำหรับนักศึกษารหัส 61 เป็นต้นไป)

Soft Skills
Digital Literacy Skills
Soft Skills
Leaderships and management skills

นโยบาย

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่รหัส 59 เป็นต้นไป ต้องผ่านกิจกรรม Professional and personal skills development ทุกคน จึงจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ โดยนักศึกษาในทุกระดับชั้นจะต้องผ่านอย่างน้อย 1 โครงการในทุก required skills จึงจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้
กิจกรรมที่นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรม จะปรากฎใน Transcript ของนักศึกษา
นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมกิจกรรม
นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ โดยจะมีการแสดงปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งปี เพื่อให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนได้
ในกรณีที่ส่วนงาน หรือหลักสูตร มีโครงการหรือรายวิชาที่มีความสอดคล้องกับทักษะบางด้านอยู่แล้ว สามารถขอเทียบเคียงได้ โดยกรอกแบบฟอร์มเทียบเคียงกิจกรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารกิจการนักศึกษาว่าสามารถให้เทียบเคียงได้หรือไม่ ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริการกิจการนักศึกษาทุกสองเดือน ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถเทียบเคียงกิจกรรมได้มากที่สุด 2 ทักษะ โดยอย่างน้อย 2 ทักษะ ต้องเป็นกิจกรรมที่จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย
นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถเข้าร่วมกิจกรรม Professional and personal skills development ผ่านระบบออนไลน์ที่บัณฑิตวิทยาลัยจัดให้ได้