Professional and personal skills development


(สำหรับนักศึกษารหัส 62 เป็นต้นไป)

(สำหรับนักศึกษารหัส 62 เป็นต้นไป)
ความเป็นมา
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การที่นักศึกษาจะประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องมีมากกว่าความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียน การพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และการใช้ชีวิตในสังคม ที่เรียกกันว่า Soft skills ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายบัณฑิตวิทยาลัย จึงกำหนดให้มีการพัฒนาทักษะ Soft skills ให้กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของบัณฑิตวิทยาลัย ที่ต้องการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่ตอบสนองต่อพลวัตโลก โดยมอบหมายให้ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการบริหารกิจการนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทุกส่วนงานที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาทักษะ Soft skills ขึ้น ภายใต้ชื่อโครงการ พัฒนาทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม (Professional and personal skills development)
โดยกำหนดทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม ที่เป็นพื้นฐานที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่
- 1. Communication and Language Skills
- 2. Leaderships and Management skills
- 3. Creative and Innovative Skills (สำหรับนักศึกษารหัส 61 เป็นต้นไป)
- 4. Digital Literacy Skills
- 5. Health Literacy Skills (สำหรับนักศึกษารหัส 62 เป็นต้นไป)
- 6. Entrepreneurial Literacy Skills (สำหรับนักศึกษารหัส 62 เป็นต้นไป)
นโยบาย
- นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่รหัส 59 เป็นต้นไป ต้องผ่านกิจกรรม Professional and personal skills development ทุกคน จึงจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ โดยนักศึกษาในทุกระดับชั้นจะต้องผ่านอย่างน้อย 1 โครงการในทุก required skills จึงจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้
- กิจกรรมที่นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรม จะปรากฎใน Transcript ของนักศึกษา
- นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับประกาศนียบัตรการเข้าร่วมกิจกรรม
- นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้โดยผ่านทางเว็บไซต์ โดยจะมีการแสดงปฏิทินกิจกรรมตลอดทั้งปี เพื่อให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนได้
- ในกรณีที่ส่วนงาน หรือหลักสูตร มีโครงการหรือรายวิชาที่มีความสอดคล้องกับทักษะบางด้านอยู่แล้ว สามารถขอเทียบเคียงได้ โดยกรอกแบบฟอร์มเทียบเคียงกิจกรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารกิจการนักศึกษาว่าสามารถให้เทียบเคียงได้หรือไม่ ซึ่งกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริการกิจการนักศึกษาทุกสองเดือน ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถเทียบเคียงกิจกรรมได้มากที่สุด 2 ทักษะ โดยอย่างน้อย 2 ทักษะ ต้องเป็นกิจกรรมที่จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย
- นอกจากนี้ นักศึกษายังสามารถเข้าร่วมกิจกรรม Professional and personal skills development ผ่านระบบออนไลน์ที่บัณฑิตวิทยาลัยจัดให้ได้