3.การพิมพ์วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์
ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
ตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ ต้องเป็นสีดำ คมชัด สะดวกแก่การอ่าน และใช้ตัวพิมพ์แบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
ให้พิมพ์ตามรูปแบบที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
การเว้นที่ว่างจากขอบกระดาษ ด้านซ้ายมือ และด้านบน ให้เว้นว่างห่างจากขอบประมาณ 3.75 เซนติเมตร (ยกเว้นหน้าแรกของแต่ละบท ให้เว้นว่างประมาณ 5 เซนติเมตร) ด้านขวาและด้านล่าง ให้เว้นว่างห่างจากขอบประมาณ 2.5 เซนติเมตร สำหรับตำแหน่งเลขหน้าให้เว้นว่างห่างจากขอบด้านบน 2.5 เซนติเมตร
ในการลำดับหน้า ส่วนนำทั้งหมดให้ใช้เลขโรมันตัวเล็ก เริ่มพิมพ์เลข iii ที่หน้ากิตติกรรมประกาศ (สำหรับวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรเรียงตามลำดับพยัญชนะในภาษาไทย โดยเริ่มพิมพ์พยัญชนะ ค ที่หน้ากิตติกรรมประกาศ) เว้นเฉพาะหน้าปก หน้าเสนอวิทยานิพนธ์ หน้าอนุมัติ แต่ให้นับจำนวนหน้ารวมไปด้วย ต่อจากนั้น ให้ลำดับหน้าโดยใช้หมายเลข 1, 2, 3, ฯลฯ เริ่มตั้งแต่บทที่ 1 เป็นต้นไป
- ให้ใช้ระยะห่าง 1.5 lines แต่สำหรับวิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ ที่เขียนเป็นภาษาไทยให้ใช้ Single line
- หัวข้อสำคัญให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 2 บรรทัด และหัวข้อย่อยให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 1 บรรทัด และไม่ต้องเว้นบรรทัดในแต่ละย่อหน้า
- เมื่อมีย่อหน้า หรือขึ้นย่อหน้าใหม่ ให้เว้นระยะไว้ 2 เซนติเมตร จึงเริ่มพิมพ์ข้อความ
- ให้กำหนดหัวเรื่องเลขหน้า ในหน้าบทคัดย่อ และในส่วนเนื้อความเริ่มตั้งแต่ บทที่ 1 เป็นต้นไป
- ตัวพิมพ์และขนาดตัวอักษร ให้ใช้ตัวพิมพ์ Times New Roman ตัวอักษรธรรมดา ขนาด 10 ปอยต์ สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทย ให้ใช้ตัวพิมพ์ Angsana New ตัวอักษรธรรมดาขนาด 12 ปอยต์
- ตำแหน่งการพิมพ์เลขหน้า ให้พิมพ์ห่างจากริมกระดาษด้านบน 2.5 เซนติเมตร
- การกำหนดชื่อหัวเรื่อง
ก. หน้าบทคัดย่อ
ให้พิมพ์คำว่า "Fac. of Grad. Studies, Mahidol Univ." ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์คำว่า "Thesis " ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้าโดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษร ก่อนและหลังเครื่องหมาย " / " (สำหรับสารนิพนธ์ ให้พิมพ์คำว่า Thematic Paper)
สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทย ให้ พิมพ์ คำว่า " บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล " ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์คำว่า " วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ " ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้าโดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "
ข. หน้าที่มีเลขลำดับหน้าเป็นเลขคี่
ให้พิมพ์คำว่า " Fac. of Grad. Studies, Mahidol Univ. " ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์ปริญญาที่ได้รับ เช่น " M.Sc. (Tropical Medicine) หรือ M.Sc. (Trop. Med.) " ไว้ที่มุมขวาบน (หากชื่อสาขาวิชายาวเกินไปสามารถย่อได้ ) แนวเดียวกับเลขหน้า โดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "
สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่ได้รับพิจารณาให้เขียนเป็นภาษาไทย ให้พิมพ์คำว่า "บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล" ไว้ที่มุมซ้ายบน และพิมพ์ปริญญาที่ได้รับ เช่น " ศศ.ม. (ดนตรี)" ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้าโดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และ เว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "
ค. หน้าที่มีเลขลำดับหน้าเป็นเลขคู่
ให้พิมพ์ชื่อนักศึกษาไว้ที่มุมซ้ายบน โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ และตำแหน่ง ยกเว้นหากมียศฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม สมณศักดิ์ และพิมพ์ชื่อบท เช่น " Introduction หรือ Literature Review หรือ References หรือ Bibliography หรือ Appendix หรือ Biography " ไว้ที่มุมขวาบนแนวเดียวกับเลขหน้า โดยใช้เครื่องหมาย " / " คั่น และเว้น 1 ช่วงตัวอักษรก่อนและหลังเครื่องหมาย " / "
1. บท (Chapters)
เมื่อเริ่มบทใหม่จะต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ และมีเลขประจำบทโดยให้ใช้เลขโรมันและ เลขอารบิก สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่เขียนเป็นภาษาไทย ให้พิมพ์คำว่า "บทที่" หรือ "CHAPTER" ไว้ตรงกลางตอนบนสุดของหน้ากระดาษ บรรทัดต่อมาให้พิมพ์ " ชื่อบท " ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ เช่นกัน ถ้าชื่อบท ยาวเกิน 1 บรรทัด ให้แบ่งเป็น 2-3 บรรทัด ตามความเหมาะสม โดยพิมพ์เรียงลงมาเป็นลักษณะสามเหลี่ยมกลับหัว และไม่ต้องขีด เส้นใต้
2. หัวข้อสำคัญ
หัวข้อสำคัญในแต่ละบท หมายความถึง หัวข้อหลักซึ่งมิใช่เป็นชื่อเรื่องประจำบท ให้อยู่ชิดริม ให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 2 บรรทัด
การขึ้นหัวข้อใหม่ ถ้ามีที่ว่างสำหรับพิมพ์ข้อความต่อไปได้ในหน้านั้น ไม่เกินหนึ่งบรรทัด ให้ขึ้นหัวข้อใหม่ในหน้าถัดไป
3. หัวข้อย่อย
ให้พิมพ์หัวข้อย่อย โดยย่อหน้า 2 เซนติเมตร การพิมพ์ให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 1 บรรทัด และอาจใช้ตัวอักษรกำกับสลับกับตัวเลข หรือตัวเลขอย่างเดียวก็ได้
4. ส่วนเนื้อความ
ให้พิมพ์ห่างจากชื่อบท 2 บรรทัด และจัดระยะย่อหน้า 2 เซนติเมตร ห่างจากริมด้านซ้าย
เมื่อเริ่มบทใหม่จะต้องขึ้นหน้าใหม่เสมอ และมีเลขประจำบทโดยให้ใช้เลขโรมันและ เลขอารบิก สำหรับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ที่เขียนเป็นภาษาไทย ให้พิมพ์คำว่า "บทที่" หรือ "CHAPTER" ไว้ตรงกลางตอนบนสุดของหน้ากระดาษ บรรทัดต่อมาให้พิมพ์ " ชื่อบท " ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ เช่นกัน ถ้าชื่อบท ยาวเกิน 1 บรรทัด ให้แบ่งเป็น 2-3 บรรทัด ตามความเหมาะสม โดยพิมพ์เรียงลงมาเป็นลักษณะสามเหลี่ยมกลับหัว และไม่ต้องขีด เส้นใต้
2. หัวข้อสำคัญ
หัวข้อสำคัญในแต่ละบท หมายความถึง หัวข้อหลักซึ่งมิใช่เป็นชื่อเรื่องประจำบท ให้อยู่ชิดริม ให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 2 บรรทัด
การขึ้นหัวข้อใหม่ ถ้ามีที่ว่างสำหรับพิมพ์ข้อความต่อไปได้ในหน้านั้น ไม่เกินหนึ่งบรรทัด ให้ขึ้นหัวข้อใหม่ในหน้าถัดไป
3. หัวข้อย่อย
ให้พิมพ์หัวข้อย่อย โดยย่อหน้า 2 เซนติเมตร การพิมพ์ให้พิมพ์ห่างจากบรรทัดบน 1 บรรทัด และอาจใช้ตัวอักษรกำกับสลับกับตัวเลข หรือตัวเลขอย่างเดียวก็ได้
4. ส่วนเนื้อความ
ให้พิมพ์ห่างจากชื่อบท 2 บรรทัด และจัดระยะย่อหน้า 2 เซนติเมตร ห่างจากริมด้านซ้าย
1. ตาราง
ให้ใช้คำว่า " ตาราง…" ระบุลำดับที่ของตารางตามเลขที่บทและมีคำอธิบายอยู่เหนือตาราง ถ้าตารางมีความยาวมาก ไม่สามารถให้สิ้นสุดในหน้าเดียวได้ ให้พิมพ์ส่วนที่เหลือในหน้าถัดไป แต่ทั้งนี้จะต้องมีลำดับที่ ชื่อของตาราง และมีคำว่า "cont." ในวงเล็บ นอกจากนี้ต้องมีส่วนของข้อความในตารางรวมอยู่ด้วยในแต่ละหน้า อย่างน้อย 2 บรรทัด ในกรณีที่ส่วนข้อความของตารางสิ้นสุดลง และจำเป็นจะต้องอ้างถึงที่มาของตารางในหน้าถัดไป จะต้องบอกข้อความบางส่วนของตารางไว้ในหน้าใหม่อย่างน้อย 2 บรรทัด โดยยอมปล่อยให้มีที่ว่างในตารางหน้าเดิม
ขนาดความกว้างของตาราง ไม่ควรเกินกรอบของหน้าวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ สำหรับตารางขนาดใหญ่ ให้พยายามลดขนาดของตารางลงโดยใช้การถ่ายย่อส่วน หรือวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม ส่วนตารางที่กว้างเกินกว่าหน้าของวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ก็อาจจัดพิมพ์ตามแนวขวางของหน้าได้
2. กราฟ แผนภูมิ และรูปภาพประกอบ
ให้ใช้คำว่า "รูปภาพ…" ระบุลำดับที่ของรูปภาพตามเลขที่บท และมีคำอธิบายประกอบใต้รูปภาพ
รูปภาพประกอบสามารถใช้ได้ทั้งภาพจริง ภาพจาการถ่ายสำเนาหรือภาพจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยต้องเป็นภาพที่มีความชัดเจน และต้อง INSERT ภาพประกอบไว้ในแฟ้มข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์/ สารนิพนธ์ ด้วย
ทั้งนี้อนุญาตให้ติดรูปภาพประกอบได้ที่กระดาษด้านซ้ายที่เป็นหน้าว่าง กรณีที่จะช่วยให้การบรรยายหรือการอธิบายชัดเจนมากขึ้น
ให้ใช้คำว่า " ตาราง…" ระบุลำดับที่ของตารางตามเลขที่บทและมีคำอธิบายอยู่เหนือตาราง ถ้าตารางมีความยาวมาก ไม่สามารถให้สิ้นสุดในหน้าเดียวได้ ให้พิมพ์ส่วนที่เหลือในหน้าถัดไป แต่ทั้งนี้จะต้องมีลำดับที่ ชื่อของตาราง และมีคำว่า "cont." ในวงเล็บ นอกจากนี้ต้องมีส่วนของข้อความในตารางรวมอยู่ด้วยในแต่ละหน้า อย่างน้อย 2 บรรทัด ในกรณีที่ส่วนข้อความของตารางสิ้นสุดลง และจำเป็นจะต้องอ้างถึงที่มาของตารางในหน้าถัดไป จะต้องบอกข้อความบางส่วนของตารางไว้ในหน้าใหม่อย่างน้อย 2 บรรทัด โดยยอมปล่อยให้มีที่ว่างในตารางหน้าเดิม
ขนาดความกว้างของตาราง ไม่ควรเกินกรอบของหน้าวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ สำหรับตารางขนาดใหญ่ ให้พยายามลดขนาดของตารางลงโดยใช้การถ่ายย่อส่วน หรือวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม ส่วนตารางที่กว้างเกินกว่าหน้าของวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ก็อาจจัดพิมพ์ตามแนวขวางของหน้าได้
2. กราฟ แผนภูมิ และรูปภาพประกอบ
ให้ใช้คำว่า "รูปภาพ…" ระบุลำดับที่ของรูปภาพตามเลขที่บท และมีคำอธิบายประกอบใต้รูปภาพ
รูปภาพประกอบสามารถใช้ได้ทั้งภาพจริง ภาพจาการถ่ายสำเนาหรือภาพจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยต้องเป็นภาพที่มีความชัดเจน และต้อง INSERT ภาพประกอบไว้ในแฟ้มข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์/ สารนิพนธ์ ด้วย
ทั้งนี้อนุญาตให้ติดรูปภาพประกอบได้ที่กระดาษด้านซ้ายที่เป็นหน้าว่าง กรณีที่จะช่วยให้การบรรยายหรือการอธิบายชัดเจนมากขึ้น
การพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์ของจุลชีพ พืช สัตว์ ให้ใช้ตามประมวลนามศาสตร์สากล (International Code of Nomenclature) คือ ทำให้เด่นชัด แตกต่างจากอักษรหรือข้อความอื่นๆ โดย ขีดเส้นใต้ หรือ พิมพ์ด้วยตัวเอน