8.คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ในการทำวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์

ข้อกำหนดวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

 
  1. คุณสมบัติ
    ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่า รองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน

  2. หน้าที่
    • ให้คําปรึกษา การจัดทําโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา เมื่อนักศึกษาเริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์
    • ควบคุมการจัดทําโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา
    • จัดให้มีการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ภายใน 2 ภาค การศึกษานับแต่นักศึกษาเริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ครั้งแรก
    • ทําหน้าที่ประธานคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ เมื่อกําหนดสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ให้แก่นักศึกษา
    • เสนอชื่อผู้ทําหน้าที่อาจารย์สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ร่วม เมื่อกําหนดสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ให้แก่นักศึกษา
    • ตรวจสอบการแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ให้เป็นไปตามมติ ของคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์
    • รับผิดชอบและควบคุมการทําวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา
  1. คุณสมบัติ
    ต้องเป็นอาจารย์ประจํา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดลมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน

  2. หน้าที่
    สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา โดยพิจารณาประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีวิจัย ระยะเวลาในการทําวิจัยและประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย

  3. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ต้องได้รับการแต่งตั้ง จากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 2 คน โดยประธานคณะกรรมการ สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ต้องเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ในกรณีที่มีความจําเป็น และเหมาะสมบัณฑิตวิทยาลัย อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ทําหน้าที่อาจารย์สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ร่วมด้วยได้
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาโท แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ร่วม

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์หลัก
  1. คุณสมบัติ
    • ต้องเป็นอาจารย์ประจํา
    • ต้องเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์
    • ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
    • ต้องมีประสบการณ์ในการทําวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
  2. หน้าที่
    • รับผิดชอบ และควบคุมการทําวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา ให้สอดคล้องกับโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ที่สอบผ่านจากการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยมีคําสั่งสอบ
    • เสนอชื่อผู้ทําหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ร่วม
    • ให้คําแนะนำและเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาทางทฤษฎี แนวคิด และวิธีการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
    • ให้คําแนะนํา และเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษา เกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ และการใช้ภาษา
    • ติดตามการดําเนินการวิจัย ให้เป็นไปตามแผนงาน และรับผิดชอบประเมินผล การทําวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ทุกภาคการศึกษา จนกว่าการทําวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์จะแล้วเสร็จ
    • ให้ความเห็นชอบในการขอสอบวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา
    • ร่วมเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ร่วม
  1. คุณสมบัติ
    • ต้องเป็นอาจารย์ประจํา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล
    • ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
    • ต้องมีประสบการณ์ ในการทําวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษา เพื่อรับปริญญา
  2. หน้าที่
    • ร่วมรับผิดชอบ และควบคุมการทําวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา ให้สอดคล้องกับ โครงร่างวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ที่สอบผ่าน จากการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มีคําสั่งสอบ
    • ร่วมให้คําแนะนํา และร่วมเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหา ทางทฤษฎี แนวคิด และวิธีการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น
    • ร่วมให้คําแนะนํา และร่วมเป็นที่ปรึกษาแก่ นักศึกษาเกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ และการใช้ภาษา
    • ร่วมติดตาม การดําเนินการวิจัย ให้เป็นไปตามแผนงาน และร่วมประเมินผล การทําวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ทุกภาคการศึกษา จนกว่าการทําวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์จะแล้วเสร็จ
    • อาจร่วมเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ได้ และต้องเข้าสอบวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ด้วยทุกครั้ง
  3. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ ต้องได้รับการแต่งตั้งจาก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์หลัก 1 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ร่วม อย่างน้อย 1 คน ในกรณี ที่มีความจําเป็น และเหมาะสมบัณฑิตวิทยาลัย อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ทําหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ร่วมได้
  1. คุณสมบัติ
    ต้องเป็นอาจารย์ประจํา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ไม่ต่ำากว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน

  2. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการสอบประมวลความรู้ ต้องได้รับการแต่งตั้ง จากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยประธานคณะกรรมการสอบประมวลความรู้ ต้องเป็นอาจารย์ประจํา ทั้งนี้อาจเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ทําหน้าที่กรรมการสอบประมวลความรู้ร่วมด้วยได้

  3. หน้าที่
    สอบข้อเขียนและ/หรือสอบปากเปล่าในเนื้อหา หรือรายวิชาที่ กําหนดสําหรับนักศึกษา เพื่อประเมินผลความรอบรู้ ทางด้านวิชาการของนักศึกษาปริญญาโท ที่ศึกษาตามแผน ข
  1. คุณสมบัติ
    • ต้องเป็นอาจารย์ประจํา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล มีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการไม่ต่ำกว่า รองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
    • ต้องมีประสบการณ์ ในการทําวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่ง ของการศึกษาเพื่อรับปริญญา

  2. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ต้องได้รับการแต่งตั้งจาก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีจํานวนไม่ น้อยกว่า 3 คน ประกอบด้วย (1) อาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์หลัก (2) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล อย่างน้อย 1 คน และ (3) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ร่วม หรืออาจารย์ประจํา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ร่วม ต้องไม่เป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์

  3. หน้าที่ของประธานกรรมการสอบ
    • กํากับและดําเนินการสอบวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
    • พิจารณาความสามารถของนักศึกษา ในการทําวิจัย เพื่อวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ของนักศึกษาความรอบรู้ในเนื้อหา ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ทําวิจัยความสามารถ ในการนําเสนอผลงาน ทั้งด้านการพูดและการเขียน ตลอดจนปฏิภาณ และไหวพริบในการตอบคําถาม
    • สรุปผลการสอบตามมติของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์

  4. หน้าที่ของกรรมการสอบผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์หลัก
    • พิจารณาความสามารถของนักศึกษา ในการทําวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา ความรอบรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ เรื่องที่ทําวิจัย ความสามารถในการนําเสนอผลงาน ทั้งด้านการพูดและการเขียนตลอดจนปฏิภาณ และไหวพริบในการตอบคําถาม
    • แจ้งผลการตัดสินการสอบวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษาทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 5 วันนับจากวันสอบวิทยานิพนธ์
    • ส่งผลการสอบวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์มายัง คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านประธานหลักสูตร ภายใน 15 วันนับจากวันสอบวิทยานิพนธ์
    • ติดตามและควบคุมการจัดทํารูปเล่ม และแผ่นบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ให้เป็นไปตามมติ ของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์

  5. หน้าที่ของกรรมการสอบ
    พิจารณาความสามารถของนักศึกษา ในการทําวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษา ความรอบรู้ในเนื้อหา ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ทําวิจัย ความสามารถในการนําเสนอผลงาน ทั้งด้านการพูดและการเขียนตลอดจนปฏิภาณ และไหวพริบในการตอบคําถาม
  1. คุณสมบัติ
    ต้องได้รับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน

  2. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ ต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยประธานคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติ ต้องเป็นอาจารย์ประจำ ทั้งนี้อาจเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ให้ทำหน้าที่กรรมการสอบวัดคุณสมบัติร่วมด้วยได้

  3. หน้าที่
    สอบข้อเขียนและ/หรือสอบปากเปล่านักศึกษาปริญญาเอก เพื่อประเมินความรู้ความสามารถของนักศึกษา ในการเป็นผู้มีสิทธิเสนอวิทยานิพนธ์ เพื่อขอรับปริญญาเอก

  4. การเสนอรายนามคณะกรรมการ
    ให้ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เป็นผู้รับผิดชอบในการเสนอรายนามคณะกรรมการสอบวัดคุณสมบัติต่อบัณฑิตวิทยาลัย เพื่อแต่งตั้งตาม แบบฟอร์ม บฑ.35 รวมทั้ง รับผิดชอบในการดำเนินการ สอบวัดคุณสมบัติตลอดจน การแจ้งผลการสอบวัดคุณสมบัติตาม แบบฟอร์ม บฑ.38ไปยังบัณฑิตวิทยาลัย
  1. คุณสมบัติ
    ต้องเป็นอาจารย์ประจํามีคุณวุฒิ ปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน

  2. หน้าที่
    • ให้คําปรึกษาการจัดทําโครงร่างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา เมื่อนักศึกษาเริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์
    • ควบคุมการจัดทําโครงร่างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา จัดให้มีการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ภายใน 2 ภาคการศึกษานับแต่นักศึกษา เริ่มลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ครั้งแรก
    • ทําหน้าที่ประธานคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เมื่อกําหนดสอบ โครงร่างวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษา
    • เสนอชื่อผู้ทําหน้าที่อาจารย์สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ร่วม เมื่อกําหนดสอบ โครงร่างวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษา
    • ตรวจสอบการแก่ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามมติ ของคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
    • รับผิดชอบและควบคุมการทําวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
  1. คุณสมบัติ
    ต้องเป็นอาจารย์ประจํา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน

  2. หน้าที่
    สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา โดยพิจารณาประเด็นปัญหาระเบียบวิธีวิจัย ระยะเวลาในการทําวิจัยและประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย

  3. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยประธานคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ต้องเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์ ในกรณีที่มีความจําเป็น และเหมาะสมบัณฑิตวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ทําหน้าที่อาจารย์สอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ร่วมด้วยได้
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก
  1. คุณสมบัติ
    • ต้องเป็นอาจารย์ประจํา
    • ต้องเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงร่างวิทยานิพนธ์
    • ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
    • ต้องมีประสบการณ์ในการทําวิจัย ที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา
  2. หน้าที่
    • รับผิดชอบและควบคุมการทําวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาให้สอดคล้องกับ โครงร่างวิทยานิพนธ์ ที่นักศึกษาสอบผ่านจากการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ที่บัณฑิตวิทยาลัยมีคําสั่งสอบ
    • เสนอชื่อผู้ทําหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
    • ให้คําแนะนําและเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหาทางทฤษฎีแนวคิด และวิธีการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
    • ให้คําแนะนํา และเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์ และการใช้ภาษา
    • ติดตามการดําเนินการวิจัย ให้เป็นไปตามแผนงานและรับผิดชอบประเมินผล การทําวิทยานิพนธ์ทุกภาคการศึกษา จนกว่าการทําวิทยานิพนธ์จะแล้วเสร็จ
    • ให้ความเห็นชอบในการขอสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
    • ร่วมเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม
  1. คุณสมบัติ
    • ต้องเป็นอาจารย์ประจํา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล
    • ต้องมีคุณวุฒิปริญญาเอก หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง ทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
    • ต้องมีประสบการณ์ในการทําวิจัย ที่มิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา

  2. หน้าที่
    • ร่วมรับผิดชอบ และควบคุมการทําวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ให้สอดคล้องกับโครงร่างวิทยานิพนธ์ ที่นักศึกษาสอบผ่าน จากการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ที่บัณฑิตวิทยาลัยมีคําสั่งสอบ
    • ร่วมให้คำแนะนำ และร่วมเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหาทางทฤษฎี แนวคิด และวิธีการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
    • ร่วมให้คําแนะนํา และร่วมเป็นที่ปรึกษาแก่นักศึกษาเกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์ และการใช้ภาษา
    • ร่วมติดตามการดําเนินการวิจัย ให้เป็นไปตามแผนงาน และร่วมประเมินผลการทําวิทยานิพนธ์ทุกภาคการศึกษา จนกว่าการทําวิทยานิพนธ์จะแล้วเสร็จ
    • อาจร่วมเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ได้ และต้องเข้าสอบวิทยานิพนธ์ด้วยทุกครั้ง

  3. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการที่ปรึ กษาวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก 1 คน และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมอย่างน้อย 2 คน

    ในกรณีที่มีความจําเป็นและเหมาะสม บัณฑิตวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ให้ทําหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมได้
  1. คุณสมบัติ
    • ต้องเป็นอาจารย์ประจํา หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางวิชาการ ไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
    • ต้องมีประสบการณ์ด้านการสอน และการวิจัยที่มิใช่ส่วนหนึ่ง ของการศึกษาเพื่อรับปริญญา

  2. องค์ประกอบ
    คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีจํานวนไม่น้อยกว่า 4 คน ประกอบด้วย (1) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก (2) ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล อย่างน้อย 1 คน และ (3) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม หรืออาจารย์ประจํา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ต้องไม่เป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ในกรณีที่มีความจําเป็น และเหมาะสม บัณฑิตวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะให้ทําหน้าที่กรรมการสอบวิทยานิพนธ์

  3. หน้าที่ของประธานกรรมการสอบ
    • กํากับและดําเนินการสอบวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้
    • พิจารณาความสามารถของนักศึกษา ในการทําวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ความรอบรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ เรื่องที่ทําวิจัย ความสามารถในการนําเสนอผลงาน ทั้งด้านการพูดและการเขียน ตลอดจนปฏิภาณ และไหวพริบในการตอบคําถาม
    • สรุปผลการสอบตามมติของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
    • หน้าที่ของกรรมการสอบผู้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หลัก
    • พิจารณาความสามารถของนักศึกษา ในการทําวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ความรอบรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่อง ที่ทําวิจัยความสามารถในการนําเสนอผลงาน ทั้งด้านการพูดและการเขียน ตลอดจนปฏิภาณ และไหวพริบในการตอบคําถาม
    • แจ้งผลการตัดสิน การสอบวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษาทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 5 วัน นับจากวันสอบวิทยานิพนธ์
    • ส่งผลการสอบวิทยานิพนธ์ มายังคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย โดยผ่านประธานหลักสูตร ภายใน 15 วัน นับจากวันสอบวิทยานิพนธ์
    • ติดตามและควบคุมการจัดทํารูปเล่ม และแผ่นบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ให้เป็นไปตามมติของ คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

  4. หน้าที่ของกรรมการสอบ
    พิจารณาความสามารถของนักศึกษาในการทําวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ความรอบรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องที่ทําวิจัย ความสามารถในการนําเสนอผลงาน ทั้งด้านการพูดและการเขียน ตลอดจนปฏิภาณและไหวพริบในการตอบคําถาม
สารบัญ