ผู้สนใจเข้าศึกษา ข้อมูลหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 

ข้อมูลหลักสูตร

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 

ระดับ ปริญญาโท
คณะ / สถาบัน วิทยาเขตกาญจนบุรี
เว็บไซต์ http://www.ka.mahidol.ac.th/th/

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(ความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ)

จุดเด่นของหลักสูตร

หลักสูตรความมั่นคงทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ เป็นหลักสูตรสหวิทยาการในด้านนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และนโยบายสาธารณะ มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ลึกในด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญทั้งนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และด้านอุตสาหกรรมที่จำเพาะ และมีความรู้กว้างในด้านที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะบูรณาการความคิด ความรู้และศาสตร์ที่หลากหลาย เพื่อค้นหาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ

คุณสมบัติของผุู้เข้าศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก๒
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9            หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 12            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต
แผน ข
หมวดวิชาบังคับ 15            หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15            หน่วยกิต
สารนิพนธ์ 6            หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36            หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

๑) นักวิจัยทางด้านนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๒) ผู้เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เน้นความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ และนวัตกรรมเกษตร เทคโนโลยีอาหาร และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

รายวิชาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก2

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
กญยท๕๐๑ : หลักการความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 2
กญยท๕๐๒ : นโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจแบบยั่งยืน 2
กญยท๕๐๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 3
กญยท๕๐๔ : สัมมนาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 2
กญยท๕๐๕ : การจัดการทรัพยากรอาหารแบบยั่งยืน 3
กญยท๕๐๖ : ความยั่งยืนทางระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
กญยท๕๑๐ : นวัตกรรมการเกษตร 3
กญยท๕๑๑ : แบบจำลองและสถานการณ์จำลอง 3
กญยท๕๑๒ : เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรขั้นสูง 3
กญยท๕๑๓ : เทคโนโลยีสำหรับความปลอดภัยอาหาร 3
กญยท๕๑๔ : การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3
กญยท๕๑๕ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและประมาณการอายุการเก็บรักษา 3
กญยท๕๑๖ : การจัดการโรงงานและลอจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร 3
กญยท๕๑๗ : พันธุศาสตร์การอนุรักษ์ 3
กญยท๕๑๘ : นิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมและแนวทางเพื่อการอนุรักษ์ 3
กญยท๕๑๙ : หัวข้อคัดสรรทางความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 3
วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต
กญยท๖๙๘ : วิทยานิพนธ์ 12

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ หน่วยกิต
กญยท๕๐๑ : หลักการความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 2
กญยท๕๐๒ : นโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจแบบยั่งยืน 2
กญยท๕๐๓ : วิทยาระเบียบวิธีวิจัย 3
กญยท๕๐๔ : สัมมนาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 2
กญยท๕๐๕ : การจัดการทรัพยากรอาหารแบบยั่งยืน 3
กญยท๕๐๖ : ความยั่งยืนทางระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ 3
หมวดวิชาเลือก หน่วยกิต
กญยท๕๑๐ : นวัตกรรมการเกษตร 3
กญยท๕๑๑ : แบบจำลองและสถานการณ์จำลอง 3
กญยท๕๑๒ : เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตรขั้นสูง 3
กญยท๕๑๓ : เทคโนโลยีสำหรับความปลอดภัยอาหาร 3
กญยท๕๑๔ : การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3
กญยท๕๑๕ : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและประมาณการอายุการเก็บรักษา 3
กญยท๕๑๖ : การจัดการโรงงานและลอจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร 3
กญยท๕๑๗ : พันธุศาสตร์การอนุรักษ์ 3
กญยท๕๑๘ : นิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมและแนวทางเพื่อการอนุรักษ์ 3
กญยท๕๑๙ : หัวข้อคัดสรรทางความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ 3
สารนิพนธ์ หน่วยกิต
กญยท๖๙๗ : สารนิพนธ์ 6

ผู้สนใจเข้าศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ gradthai@mahidol.ac.th or LINE Official @160ohrzm

สร้างโอกาสของความเป็นผู้นำ ที่สุดของการเรียนรู้กับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สร้างโอกาสให้ทุกฝันของคนรุ่นใหม่ ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่