นักศึกษาปัจจุบัน แนะนำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (หลักสูตรภาคพิเศษ)

อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
MASTER OF ENGINEERING PROGRAM IN LOGISTICS AND SUPPLY CHAIN (SPECIAL PROGRAM)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ ดร. เดชรัตน์ สัมฤทธิ์
Image Description
อาจารย์ ดร. เดชรัตน์ สัมฤทธิ์
"ผลิตมหาบัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและประยุกต์ พหุวิทยาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มีทักษะการทำวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลงานวิจัยอย่างเชี่ยวชาญ เป็นผู้นำความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ"

จุดเด่นของ สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

Healthcare Logistics

  • เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) บูรณาการและ ผสมผสานศาสตร์ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม การบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้ากับศาสตร์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพี่อแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ

  • เป็นหลักสูตรแห่งแรกของประเทศไทยในด้านระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ ที่เปิดภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • หลักสูตรเหมาะสำหรับ ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานระดับปฏิบัติการ และผู้ที่เพิ่งจบปริญญาตรี (สาขาพยาบาล เภสัช วิทยาศาสตร์การแพทย์ และ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) ที่สนใจในการบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ

  • การเรียนการสอนเน้นการประยุกต์ทฤษฎีเพี่อนำไปแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา ระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสุขภาพได้จริงในองค์กรภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม โรงพยาบาล ฯลฯ

Industrial and Service logistics

  • หลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) บูรณาการและ ผสมผสานศาสตร์ ด้านโลจิสติกส์ วิศวกรรมอุตสาหการ และการบริหารการจัดการเพี่อแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานในภาคธุรกิจ /ภาคอุตสาหกรรม

  • เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานระดับปฏิบัติการ และผู้ที่เพิ่งจบปริญญาตรี (สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และ สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) ที่สนใจในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน

  • หลักสูตรเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาโลจิสติกส์และระบบห่วงโซ่อุปทาน

  • การเรียนการสอนเน้นการประยุกต์ทฤษฎี เพี่อนำไปแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานได้จริงในองค์กรภาคธุรกิจ /ภาคอุตสาหกรรม

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แผน ก แบบ ก (2)

  1. สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือคาดว่าจะสําเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการ ศึกษาในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยา-ศาสตรบัณฑิต หลักสูตรในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ บริหารธุรกิจบัณฑิตหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
    IELTS ที่ระดับ 3 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL INTERNET BASED ที่ระดับ 32 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ที่ระดับ 400 คะแนนขึ้นไป
    MU GRAD TEST (Computer Based) ที่ระดับ 36 คะแนนขึ้นไป
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศ เรื่องมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษฯ ที่ : https://graduate.mahidol.ac.th/thai/current-students/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา โทรศัพท์ 0-2441-4125 ต่อ 221-222
  4. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
  5. กรณีคุณสมบัติผู้สมัครไม่ตรงตามที่หลักสูตรสาขาวิชากำหนดให้แนบ คำร้องขออนุมัติสมัครสอบ โดยผ่านอาจารย์ผู้รับผิดชอบการสอบคัดเลือกของหลักสูตรสาขาวิชา ก่อนสมัคร (ดาวน์โหลดคำร้อง ขออนุมัติสมัครสอบได้ที่ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/) เมนูแบบฟอร์มรับสมัครต่างๆ)

แผน ข

  1. สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรในสาขาวิชาวิทยาศาสร์สุขภาพ บริหารธุรกิจบัณฑิต หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. ประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน บริการสุขภาพ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี (ต้องแสดงเอกสารรับรองประสบการณ์การทำงานเมื่อยื่นใบสมัครด้วย)
  4. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
    IELTS ที่ระดับ 3 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL INTERNET BASED ที่ระดับ 32 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ที่ระดับ 400 คะแนนขึ้นไป
    MU GRAD TEST (Computer Based) ที่ระดับ 36 คะแนนขึ้นไป

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

  • บุคลากรระดับปฏิบัติการถึงผู้บริหารในองค์กรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทั้งในกิจการบริการสุขภาพ การผลิตสินค้าและบริการในแผนกที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เช่น ขนส่ง คลังสินค้า จัดซื้อ วางแผนและควบคุมการผลิต การบริการ

  • ที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

  • วิทยากรหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

  • นักวิจัยในสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

งานวิเทศสัมพันธ์ สื่อสารองค์กรและภารกิจพิเศษ และงานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 131-137
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 112-115
อีเมล : panee.nus@mahidol.ac.th
อีเมล : gradthai@mahidol.ac.th

ผู้สนใจเข้าศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ gradthai@mahidol.ac.th or LINE Official @160ohrzm

สร้างโอกาสของความเป็นผู้นำ ที่สุดของการเรียนรู้กับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สร้างโอกาสให้ทุกฝันของคนรุ่นใหม่ ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่