ศ.ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ (หลักสูตรนานาชาติ)
Doctor of Philosophy (Ph.D.) in Systems Biosciences (International Program)
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื่องจากปัจจุบันองค์ความรู้ด้านพันธุศาสตร์มีการพัฒนาอย่างกว้างไกล อาทิ องค์ความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์ระดับเซลล์และโมเลกุล ชีวสารสนเทศระดับพันธุกรรม ทรานส์คริปโตมิคส์ (transcriptomics) โปรตีโอมิคส์ (proteomics) และการควบคุมนอกเหนือพันธุกรรม (epigenomics) ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้ได้ถูกนำมาพัฒนาร่วมกันทำให้เกิดศาสตร์แบบพหุวิทยาการที่เรียกว่า ชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ (Systems Biosciences) ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจความซับซ้อนและความสัมพันธ์ของกลไกการทำงานในระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานพร้อมกัน อาทิ การศึกษากลไลการควบคุมการทำงานระหว่างยีนหลายตัว (multiple regulation networks) การศึกษาปฎิสัมพันธ์ระหว่างสารพันธุกรรมและโปรตีน (DNA-protein interaction) การศึกษาปฎิสัมพันธ์ของอาร์เอ็นเอที่ไม่ถอดรหัส (non-coding RNA) ต่อโมเลกุลอื่น หรือกระบวนการย้อนกลับของเซลล์โดยการควบคุมนอกเหนือพันธุกรรม (epigenetic cell reprogramming) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ (หลักสูตรนานาชาติ) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเกิดจากการรวบรวมคณาจารย์ที่มีงานวิจัยที่หลากหลาย และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ ดังกล่าว โดยมุ่งหวังให้เกิดหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการสหสาขาวิชา (multidisciplinary) จากความเชี่ยวชาญในแขนงที่แตกต่างกันของผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถพัฒนางานวิจัยเพื่อศึกษาความซับซ้อนและความสัมพันธ์ของกลไกการทำงานในระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตอีกทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาบุคลากร นักวิจัย และนักวิชาการทางด้านชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบของประเทศไทย
คณาจารย์ในหลักสูตรชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบมีความร่วมมือและเครือข่ายงานวิจัยกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล: ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ และ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน หน่วยงานภายในประเทศ: องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยนเรศวร หน่วยงานต่างประเทศ ได้แก่
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมของบัณฑิตที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะต้องลงวิชาความรู้พื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะศึกษารายวิชาและวิทยานิพนธ์ในรูปแบบเดียวกับนักศึกษาที่เข้าหลักสูตรด้วยวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท รูปแบบการเรียนการสอนจะเน้นงานวิจัยควบคู่กับการศึกษา สร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้การปฏิบัติงานวิจัย เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และเพิ่มพูนความเข้าใจจากการปฏิบัติงานจริง
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมของบัณฑิตที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก โดยรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จะต้องลงวิชาความรู้พื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะศึกษารายวิชาและวิทยานิพนธ์ในรูปแบบเดียวกับนักศึกษาที่เข้าหลักสูตรด้วยวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท รูปแบบการเรียนการสอนจะเน้นงานวิจัยควบคู่กับการศึกษา สร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้การปฏิบัติงานวิจัย เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และเพิ่มพูนความเข้าใจจากการปฏิบัติงานจริง
หลักสูตรฯ มุ่งเน้นให้การศึกษาด้านพื้นฐานในสาขาชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ เพื่อให้นักศึกษาเมื่อจบหลักสูตรมีความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ โดยหลักสูตรฯ มุ่งหวังจะผลิตบัณฑิตตาม "คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร" ดังนี้
ถึงแม้หลักสูตรชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบจะเป็นหลักสูตรใหม่ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นานนัก แต่บุคลากรของหลักสูตรฯ ล้วนแล้วแต่ทำงานวิจัยอย่างเข้มแข็งและมีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ในเชิงเพิ่มพูนองค์ความรู้พื้นฐาน แต่ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาทิ งานวิจัยของ อ.ดร.อลิสา ทับสุวรรณ (ในขณะเป็นนักศึกษาปริญญาเอกและทำวิจัยที่ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมียของสถาบันฯ) ได้ใช้เทคโนโลยีการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดชนิดเหนี่ยวนำ (induced pluripotent stem cells; iPS) ร่วมกับวิธียีนบำบัด (gene therapy) เพื่อใช้เป็นเซลล์ทางเลือกสำหรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในการรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และ อ.ดร.อลิสา ยังคงมีงานวิจัยต่อเนื่องที่ใช้เทคโนโลยี CRISPR/Cas9 ในการแก้ไขมิวเตชั่นที่เป็นสาเหตุของโรคธาลัสซีเมียในเซลล์ต้นกำเนิดชนิดเหนี่ยวนำ ซึ่งล่าสุดได้รับทุน Junior Research Fellowship ประจำปี ๒๐๑๗ จากสถานทูตฝรั่งเศส เพื่อทำงานวิจัยและสร้างความร่วมมือกับ Institut des Maladies Emergentes et des ThérapiesInnovantes ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของหลักสูตรชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลอย่างมาก นอกจากนี้คณาจารย์ในหลักสูตร ยังมุ่งเน้นการต่อยอดพัฒนาผลงานวิจัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง อาทิ ผลงานวิจัยของ รศ. ดร.สุรพล พิบูลโภคานันท์ ซึ่งวิเคราะห์หาโปรตีนก่อภูมิแพ้อาหารโดยเน้นเฉพาะกุ้งน้ำจืดและกุ้งทะเล เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการออกแบบชุดตรวจภูมิแพ้อาหารที่ปรุงจากกุ้ง เพื่อช่วยให้การตรวจวินิจฉัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถระบุความรุนแรงของอาการแพ้ ทั้งยังนำไปสู่การพัฒนาวิธีการบำบัดรักษาการแพ้ (Food Immunotherapy) และผลงานวิจัยของ รศ. ดร. น.สพ.ปณัฐ อนุรักษ์ปรีดา ซึ่งได้พัฒนาชุดทดสอบสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับในสัตว์ที่เกิดจากการติดเชื้อ F. gigantica ซึ่งชุดทดสอบนี้มีประสิทธิภาพและความไวสูง สามารถตรวจสอบได้ในเวลารวดเร็วรวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ทางหลักสูตรฯ ยังสนับสนุนให้บุคคลากรได้พัฒนาศักยภาพในการสอนและงานวิจัย โดยส่งเสริมให้สร้างเครือข่ายงานวิจัยในระดับนานาชาติ ทั้งในรูปแบบการนำเสนอผลงานในงานประชุมหรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัยในองค์กรต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ เพื่อนำประสบการณ์มาถ่ายทอดให้นักศึกษาหรือบุคคลากรในหลักสูตรฯ ต่อไป
นักศึกษาในหลักสูตรชีววิทยาศาสตร์เชิงระบบ จะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาหรือทุนวิจัยทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) อีกทั้งบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ยังได้สนับสนุนทุนการศึกษาหรือทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา อาทิ ทุนผู้ช่วยวิจัยบัณฑิตศึกษา (RA: Research Assistantships) ทุนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ ปีครองราชสมบัติ ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์บางส่วน ทุนอุดหนุนในการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อไปเสนอผลงานทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น และ รางวัลเกียรติยศแก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลการศึกษาดีเยี่ยม (Dean's List) เป็นต้น
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี
สร้างโอกาสของความเป็นผู้นำ ที่สุดของการเรียนรู้กับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สร้างโอกาสให้ทุกฝันของคนรุ่นใหม่ ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่