ศิษย์เก่า แนะนำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์
Master of Science Program in Veterinary Biomedical Sciences (International Program)
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์ กฤษฎา ใจชื้น
Image Description
อาจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์ กฤษฎา ใจชื้น
"หลักสูตรใหม่ ผลิตมหาบัณฑิตด้านสัตวแพทย์ และการสาธารณสุขสัตวแพทย์ครบวงจรสู่สังคม "

ความเป็นมาและความสำคัญของการจัดตั้งหลักสูตร

เนื่องจากหลักสูตรมีการสำรวจความต้องการของบุคลากรทางด้านสัตวแพทย์ และได้ข้อสรุปว่า ต้องการบุคลากรเพื่อพัฒนาองค์ความรู้หลักในหลายด้าน เมื่อคณะมีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร คณาจารย์ และเครื่องมือสำหรับสร้างองค์ความรู้ ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และความต้องการของสังคมได้ จึงเปิดหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาขึ้น โดยใช้ชื่อว่า หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ เป็นหลักสูตรใหม่ ที่มุ่งผลิตนักศึกษาที่มีความรู้ทางด้านชีวเวชศาสตร์ทางสัตวแพทย์ ซึ่งในหลักสูตรนี้จะมี ๓ วิชาเอก ดังนี้

  • วิชาเอกวิทยาศาสตร์การวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ (VETERINARY DIAGNOSTIC SCIENCES)

  • วิชาเอกเวชศาสตร์ประยุกต์ทางการสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข (APPLIED VETERINARY BIOMEDICAL SCIENCES AND VETERINARY PUBLIC HEALTH)

  • วิชาเอกการจัดการสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์ และสัตว์ป่า (ZOO ANIMAL AND WILDLIFE HEALTH MANAGEMENTS)

โดยจุดเด่นของหลักสูตรคือ เป็นหลักสูตรที่ Integrate ความรู้ในลักษณะของบูรณาการศาสตร์ ระหว่างสาขาสัตวแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยา- ศาสตร์สุขภาพ และวิทยาศาสตร์ในสาขาอื่นๆ ได้แก่ สาขาชีววิทยา สาขาชีวเคมี และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ ครอบคลุมทุกด้าน และสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด้านอื่นๆ ในรูปแบบเวชศาสตร์หนึ่งเดียว ใน concept ที่เรียกว่า one health หรือสุขภาพหนึ่งเดียวของเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ ทั้งนี้เพื่อที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านการวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ กลุ่มหนึ่งเน้นทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มที่สองคือ ต้องการผลิตบัณฑิตยุคใหม่ ที่มีความรู้หลักทางด้านอาหาร food safety ระบาดวิทยาทางการสัตว-แพทย์ และสัตวแพทย์ทางการสาธารณสุข กลุ่มต่อมา การสำรวจความพร้อมของคณะและบุคลากร คณะมีความโดดเด่นทางด้านสัตว์ป่า และทางเวช-ศาสตร์สัตว์ป่า คณะจึงเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมา ในลักษณะการจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการสุขภาพสัตว์ป่าและสัตว์สวนสัตว์ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของบุคลากร เช่น บุคลากรในองค์การสวนสัตว์หรือบุคลากรที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ หรือสัตวแพทย์ด้านอื่นๆที่สนใจด้านสัตว์แปลกก็สามารถ ที่จะเข้ามาศึกษาในแขนงนี้ได้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ ของเรามีความพร้อมทางด้านบุคลากร มีอาจารย์ในหลักสูตรประมาณ ๓๕ คน อาจารย์ทุกท่านมีความรู้ มีความสามารถและเชี่ยวชาญในวิชาชีพ และสามารถเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้กับนักศึกษาได้ และนอกจากนี้ที่คณะมีห้องปฏิบัติการระดับ BSL3 หรือระบบความปลอดภัยทางชีวนิรภัยระดับ ๓ สามารถ ที่จะทำงานกับโรคที่มีความเสี่ยงระดับสูงได้ ในด้านอื่นๆ เช่น ห้องเรียน ห้องสัมมนา เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย และเพียงพอสำหรับผู้เรียน สถานที่สำหรับการศึกษา การฝึกปฏิบัติทางคลินิก การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และการวิจัย เช่น โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร ปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ และศูนย์ตรวจวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ ห้องสมุดและศูนย์สนเทศทางการสัตวแพทย์

หลักสูตรนี้ตอบโจทย์อะไรในสังคม

มีหลายส่วนที่ตอบโจทย์ในสังคม อย่าง สาขาแรก สาขาการวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ จะเน้นสร้างนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยทางการแพทย์ อาทิ พยาธิวิทยา จุลชีววิทยา หรือทางภูมิคุ้มกันวิทยา ทำให้องค์ความรู้ด้านการวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้นได้ ส่วนที่ ๒ สาขาเวชศาสตร์ประยุกต์ทางการสัตวแพทย์ และสัตวแพทย์สาธารณสุข สาขานี้จะสร้างนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ที่สามารถประยุกต์ความรู้ใหม่ทางด้านเซลล์วิทยา ด้านความปลอดภัยทางอาหาร หรือ food safety ทาง ด้านระบาดวิทยาทางการสัตวแพทย์ ส่วนในสาขาที่ ๓ การจัดการสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์ และสัตว์ป่า นั้นค่อนข้างจะเป็นลักษณะเฉพาะของหลักสูตร คือ เป็นการสร้างนักวิจัย หรือ นักสัตวแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ ด้านการจัดการสัตว์ป่าครอบคลุม ถึงการจัดการสัตว์ป่าในป่า และการจัดการสัตว์ป่านอกป่าเช่น ในโรงเลี้ยงในสวนสัตว์

ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

หลักสูตรนี้มีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นหน่วย งานหลักที่ คณะมีความร่วมมือ ในด้านการวิจัยและการฝึกอบรม เพื่อที่จะให้นักศึกษาสามารถที่จะเข้าไปร่วมทำวิจัยกับกรมอุทยานแห่งชาติฯ ในสาขาการจัดการสัตว์ป่าได้ หรือสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นและอเมริกา

รูปแบบการเรียนการสอน

หลักสูตรเรามีทั้งในห้องเรียนที่เป็น Course Work และ Research การทำวิทยานิพนธ์ การเรียนในห้องเรียนจะเป็นแบบ Group Discussion ลักษณะ two way communication มีการรับฟังข้อคิดเห็นของนักศึกษา และ Discuss ในหัวข้อที่เราสนใจเป็นพิเศษ หรือเหตุการณ์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องชีวเวชศสาตร์ทางสัตวแพทย์ ในตัวโครงสร้างของหลักสูตร แบ่งเป็นวิชาบังคับ วิชาเลือก วิชาเลือกเป็นวิชาเลือกที่ต้องการให้นักศึกษา มีความสามารถในการทำงานวิจัยและทำงานในหลักสูตร ได้หลากหลาย ตอบโจทย์ ความต้องการของนักศึกษา ยกตัวอย่างเช่น วิชาเซลล์วิทยา เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ก็จะทำให้นักศึกษา มีความรู้เรื่องเซลล์ชีววิทยาโมเลกุลระดับเซลล์มากขึ้น วิชาเลือกจะแบ่งไปตามสาขาวิชาเอก ๓ สาขา วิชาเอกวิทยาศาสตร์การวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ จะเน้นเรื่องเทคนิคในห้องปฏิบัติการ ความรู้ระดับ Advance ของทางพยาธิวิทยา จุลวิทยา ชีววิทยา สาขาเวชศาสตร์ประยุกต์ทางการสัตวแพทย์ และสัตวแพทย์สาธารณสุข จะเน้นเรื่องระบาดวิทยาขั้นสูงและ เรื่องเซลล์วิทยา เซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ (Stem Cell) และสาขาการจัดการสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์ และสัตว์ป่า จะเน้นเกี่ยวกับสัตว์ป่าและการจัดการ การบริหารงานของนิเวศวิทยาพื้นที่ในป่ากับนอกพื้นที่ สาขานี้จะมีความรู้เพิ่มเติม คือ เรื่องระบบนิเวศวิทยา โดย เฉพาะนิเวศวิทยาสัตว์ป่า เช่น ประชากร พื้นฐานความต้องการ พฤติกรรมและการจัดการสัตว์ป่า

คุณสมบัติผู้ที่สนใจเข้าศึกษาหรือต้องการต่อยอด

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เราแบ่งผู้สนใจออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ เอกวิทยาศาสตร์การวินิจฉัยทางการสัตว์แพทย์ รับผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย ในหลักสูตรสัตว-แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เอกเวช-ศาสตร์ประยุกต์ทางการสัตวแพทย์ และสัตวแพทย์สาธารณสุข รับนักศึกษาที่มีพื้นฐานวิทยาศาสตร์สุขภาพและสัตวแพทย์ ส่วนเอกการจัดการสุขภาพสวนสัตว์ และสัตว์ป่า จะรับได้ ๒ กลุ่ม คือ ผู้สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการ ศึกษาสุดท้าย ในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ที่ต้องการเป็นสัตวแพทย์สัตว์ป่า อีกกลุ่มคือวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการมาทำงานวิจัยหรือพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาสัตว์ป่า

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักวิจัยสาขาการวินิจฉัยทางการสัตว-แพทย์ เวชศาสตร์ประยุกต์ทางการสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข การจัดการสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์ และสัตว์ป่า และการสาธารณสุขทุกสาขาสามารถเป็นนักวิจัยได้หมด

  • สัตว์แพทย์ที่ทำงานทางด้านวินิจฉัย เน้น ในสาขาวิทยาศาสตร์วินิจฉัย สามารถไปทำงานในห้อง Lab ห้องปฏิบัติการ ในองค์กรภาครัฐและเอกชน

  • สัตวแพทย์ที่ทำงานด้านค้นคว้าวิจัยด้าน safety food ความปลอดภัยทางด้านอาหาร

  • สัตวแพทย์หรือกลุ่มที่ต้องการทำ งานทางด้านนิเวศวิทยาสัตว์ป่า

ทุนการศึกษาหรือสวัสดิการ

เนื่องจากหลักสูตร เริ่มเปิดรับนักศึกษา ปีนี้เป็นปีแรก ส่วนใหญ่อาจารย์ในหลักสูตรจะมีทุนวิจัยสำหรับอาจารย์อยู่แล้ว และนักศึกษาในหลักสูตรส่วนใหญ่จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษ ค่าประกันการทำวิจัย นอกจากนี้ยังมีทุนที่ทางหลักสูตรร่วมกับทางบัณฑิตวิทยาลัย ม.มหิดล

เชิญชวนผู้สนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ

สำหรับผู้ที่สนใจ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตว-แพทย์ ทั้ง ๓ สาขาวิชาเอก คือ วิทยาศาสตร์การวินิจฉัยทางการสัตวแพทย์ เวชศาสตร์ประยุกต์ทางการสัตวแพทย์ และสัตวแพทย์สาธารณสุข และการจัดการสุขภาพสัตว์ สวนสัตว์ และสัตว์ป่า สามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน Website บัณฑิตวิทยาลัย หรือ Website ของคณะสัตว-แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. : ๐ ๒๔๔๑ ๕๒๔๒-๔ ต่อ ๑๔๒๙ หรือ ๒๒๑๐

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

งานวิเทศสัมพันธ์ สื่อสารองค์กรและภารกิจพิเศษ และงานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 131-137
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 112-115
อีเมล : panee.nus@mahidol.ac.th

ผู้สนใจเข้าศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ gradthai@mahidol.ac.th or LINE Official @160ohrzm

สร้างโอกาสของความเป็นผู้นำ ที่สุดของการเรียนรู้กับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สร้างโอกาสให้ทุกฝันของคนรุ่นใหม่ ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่