แนะนำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา

Master of Engineering Program in Railway Transportation System (International Program)

Programme Director Master of Engineering Program in
Railway Transportation System (International Program)
Siradol Siridhara, Ph.D
Image Description
Siradol Siridhara, Ph.D

"หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรมุ่งเน้นงาน Operation และ Maintenance เพื่อสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมขนส่งทางราง ด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และพัฒนานักวิชาการและนักปฏิบัติให้มีความรู้ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์เชิงบูรณาการในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อรองรับตลาดงานระบบรางที่กำลังเติบโตในปัจจุบันและอนาคต"

ความเป็นมา / ความสำคัญของการจัดทำหลักสูตร

ปัจจุบันรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางและขนส่งทั่วประเทศทั้งระบบขนส่งมวลชนในเขตพื้นที่เมืองและระบบการเดินทาง/ขนส่งระหว่างเมือง แผนการพัฒนาระบบขนส่งทางรางตั้งเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางและขนส่งจากการเดินทางและขนส่งทางถนนมาเป็นการเดินทางและขนส่งทางราง รัฐบาลได้เห็นชอบแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับรถไฟฟ้า 12 สาย ในระยะ 10-20 ปี (พ.ศ. 2553-2572) โดยมีกรอบวงเงิน 830,470 ล้านบาท และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553 ที่ได้เห็นชอบแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) วงเงินลงทุนรวม 176,808 ล้านบาท ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าบนดิน และรถไฟฟ้าใต้ดิน ทั้งที่ก่อสร้างในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

แนวโน้มความต้องการพัฒนาดังกล่าวก่อให้เกิดความต้องการกำลังคนด้านปฏิบัติการระบบขนส่งทางราง มีการคาดการณ์ว่าโครงการขยายเส้นทางระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีความต้องการบุคลากรปฏิบัติการระบบขนส่งทางรางจำนวนทั้งสิ้นราว 3,700 คน และในจำนวนนี้ต้องการบุคลากรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ต่ำกว่า 2,000 คน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรระยะ 2 ปี แต่ละวิชาจะเปิดสอนทุกวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) จัดการเรียนการสอนลักษณะแบบ Module เป็นภาษาอังกฤษ โดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนงของกลุ่มสาขาฯ และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ หลักสูตรของกลุ่มสาขาฯ มีหลักในการวางแผน การดำเนินงาน และการบริหารจัดการ พร้อมทั้งรายวิชาระบบรางที่มุ่งเน้นด้านต่างๆ ได้แก่ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมอุตสาหการและวัสดุ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมเครื่องกล

ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology : Tokyo Tech) ประเทศญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (นานาชาติ) และร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรระบบขนส่งทางราง (Rail Transportation Certificate) ภายใต้โครงการ TAIST - Tokyo Tech

กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง มีการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ อาทิ TU Dramstadt TU Braunschweig และ Hamburg University of Technology (TUHH) ประเทศเยอรมนี โดยความร่วมมือดังกล่าวได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และได้พัฒนามายังโครงการปัจจุบันที่จะมีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบของการเรียนการสอน


รูปแบบการเรียนการสอน

  • การเรียนการสอนแบบ Module (ทฤษฎี+ปฏิบัติ+ทดสอบภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์)

  • เวลาเรียนวันธรรมดา (จันทร์ – ศุกร์)

  • หลักสูตรภาษาอังกฤษ

  • ผู้บรรยายเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศและไทย

  • ศึกษาดูงานด้านระบบราง ณ ต่างประเทศ

  • ศึกษาเยี่ยมชมงานองค์กรเฉพาะด้านระบบราง

  • จัดโครงการพิเศษ สัมมนา

  • เหมาะสำหรับนักศึกษาเรียนเต็มเวลาสามารถสะสมชั่วโมงเรียน เพื่อขอสำเร็จการศึกษาภายใน 2 ปีการศึกษา

  • เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปแบบเต็มเวลาก็สามารถเก็บสะสมชั่วโมงเรียนเพื่อขอสำเร็จการศึกษาสูงสุด 5 ปีการศึกษา

ทุนสนับสนนุการศึกษาของหลักสูตร

หลักสูตร : วิศวกรรมบัณฑิต สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรระยะ 2 ปี แต่ละวิชาจะเปิดสอนทุกวันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) เป็นเวลาราว 2 สัปดาห์ จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนงของกลุ่มสาขาฯ และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ หลักสูตรของกลุ่มสาขาฯ มีแกนหลักในการวางแผน การดำเนินงาน และการบริหารจัดการ พร้อมทั้งรายวิชาระบบรางที่มุ่งเน้นด้านต่างๆ ได้แก่ วิศวกรรมขนส่ง วิศวกรรมอุตสาหการและวัสดุ วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมเครื่องกล

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต : ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

หมวด แผน ก แบบ ก 2 (หน่วยกิต) แผน ข (หน่วยกิต)
หมวดวิชาบังคับ 15 15
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 15
วิทยานิพนธ์ 12 6
จำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 36 36

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

  • วิศวกรวางแผนการเดินรถ, วิศวกรซ่อมบำรุงระบบราง

  • วิศวกรกรที่ปรึกษาด้านการวางแผนระบบขนส่งทางราง

  • นักวิจัยระบบขนส่งทางราง

  • ผู้บริหารระดับต้น ระดับบริหารจัดการองค์กร ถึงผู้บริหารระดับสูง

  • วิศวกรอาวุโส, วิศวกรที่ปรึกษา

General Rubric

Criteria Skills Fail (Unsatisfactory) Pass (Need improvement) Credit (Average) Distinction (Above average) Higher distinction (Excellent)
Engineering morals and ethics in managing scientific and professional projects demonstrated Ethics and morals (e.g. plagiarism, referencing) Plagiarism issue, no referencing, lack of understanding of engineering morals and ethics Various plagiarism and referencing issues occur, low level of understanding of engineering morals and ethics Some plagiarism and referencing issues occur, sufficient level of engineering morals and ethics Minor plagiarism or referencing issues, very good level of engineering morals and ethics demonstrated No plagiarism or referencing issues, excellent ethics and morals demonstrated
  Professionalism (e.g. advisors guidance, independence, subject standards) Poor level of professionalism, lack of standards and no independence demonstrated The level of professionalism needs improvement due to low standards and low independence Above average level of independence and subject standards demonstrated Minor plagiarism or referencing issues, very good level of engineering morals and ethics demonstrated Excellent demonstration of guidance, independence and application of standards
Rail system planning and management knowledge to solve railway problems applied Application of subject knowledge Unsatisfactory level of subject knowledge applied Level of knowledge applied is low and needs a serious improvement Average level of subject knowledge applied Very good level of subject knowledge (as delivered in the course) applied Excellent level of subject knowledge applied with some elements of additional knowledge presented
Research skills in developing further rail knowledge and proposing inventive ideas with positive impact on society displayed Demonstration of research skills Very poor research skills displayed, lack of understanding of subject knowledge Quality of research skills is low and needs a serious improvement Basic research skills demonstrated Very good research skills and understanding of subject knowledge Excellent research skills with some new applications and novelty demonstrated
  Generation of inventive ideas Lack of attempt to generate new ideas Some ideas generated but of poor quality, not inventive Some basic new ideas generated, but no innovation Some new innovative ideas demonstrated but with limitations New innovative ideas generated with confidence
Independent and team work skills in applying analytical thinking to efficiently manage rail transport systems demonstrated Independent work Lack of independent analytical thinking related to the subject, various different issues occur unconsciously Demonstration of independent analytical thinking related to the subject needs improvement, various issues occur Average demonstration of independent analytical thinking related to the subject, some issues occur Above average demonstration of independent analytical thinking related to the subject, minor issues Excellent demonstration of independent analytical thinking related to the subject, no issues
  Team work Lack of team work effort and analytical thinking demonstrated, very poor division of tasks, no sense of a team work Poor quality of team work demonstrated, e.g. various issues with communication, division of tasks and their delivery Average team work skills demonstrated, some issues with communication, division of tasks and tasks’ delivery occur Very good team work skills demonstrated, with clear division and delivery of tasks, but some minor issues occur Excellent team work skills demonstrated, good division of tasks and excellent execution
Effective communication of rail transport systems knowledge using variety of verbal and writing techniques addressed to different audiences Effective verbal communication of subject knowledge Very poor quality communication, e.g. unsatisfactory oral presentation Verbal communication needs improvements, e.g. reading from slides, lack of clear explanations and logic, poor Q&A session Average verbal communication skills with some issues related to e.g. reading from slides or lack of eye-contact with audience or some difficulty to handle Q&A session Above average verbal communication with very good presentation and speaking skills but minor issues with clear explanations, contact with audience or handling Q&A session Excellent verbal communication skills, including speaking skills, contact with audience, and Q&A session
  Effective writing communication of subject knowledge Very poor quality of written communication, e.g. very poor quality of a subject report , various different issues (e.g. no formatting, typos, different styles) occur unconsciously Written communication needs serious improvements, various different issues (e.g. poor formatting, lack of logic, poor explanations, poor overall quality) Average written communication skills with some issues related to e.g. formatting, style, work-flow Above average written communication with very good writing skills but minor issues with e.g. formatting, style or work-flow Excellent written communication skills, no issues

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

หลักสูตรสาขาวิชาที่เปิดรับสมัคร ระดับบัณฑิตศึกษา

ติดตามข่าวสาร:

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กลุ่มสาขาวิชาโลจิสติกส์และระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดต่อสอบถามข้อมูล : โทรศัพท์ : 02 889 2138 ต่อ 6619 (สาขาวิชาระบบขนส่งทางราง)
ผู้ประสานงานหลักสูตร นภัส แมลงภู่ อีเมล : napas.mal@mahidol.ac.th หรือ napas089@gmail.com
ข้อมูล ณ วันที่ 24 ม.ค. 2563

ผู้สนใจเข้าศึกษา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ gradthai@mahidol.ac.th or LINE Official @160ohrzm

สร้างโอกาสของความเป็นผู้นำ ที่สุดของการเรียนรู้กับการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา สร้างโอกาสให้ทุกฝันของคนรุ่นใหม่ ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่