Prof. Dr. Chartchalerm Isarankura-Na-Ayudhya
Dean of Faculty of Graduate Studies
ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา(หลักสูตรนานาชาติ)
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
Double Degree Program
(Mahidol University - Liverpool John Moores University)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (หลักสูตรนานาชาติ) เริ่มเปิดการเรียนการสอน เมื่อปี พ.ศ. 2555 เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานทางด้านพัฒนานักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เป็นระดับสากล เพื่องานวิจัย หรือออกไปเป็นอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันยังขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาอยู่ และตลาดแรงงาน ยังต้องการบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นจำนวนมาก และในปี พ.ศ. 2556 หลักสูตรฯ มีการปรับปรุง โดยมีความร่วมมือกับ Liverpool John Moores University (LJMU) ประเทศอังกฤษ ในการจัดทำหลักสูตร ซึ่งผู้สำเร็จการศึกษา จะได้รับ 2 ปริญญา (Double Degree Program) Liverpool John Moores University ถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ของประเทศอังกฤษ และเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ที่ได้รับการยอมรับด้าน SPORTS SCIENCE เนื่องจาก มีการเรียนการสอน ได้การรับรองมาตรฐานระดับสากล Liverpool John Moores University ได้เล็งเห็นศักยภาพและความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล อีกทั้งต้องการขยายความร่วมมือ ด้าน SPORTS SCIENCE ผลิตนักวิทยาศาสตร์การกีฬาขั้นสูง ที่มีมาตรฐานระดับสากล เทียบเท่านานาชาติ โดยนักศึกษาในหลักสูตรจะต้องศึกษาที่ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นระยะเวลา 18 เดือน และเรียนที่ LJMU อีก 18 เดือน ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะได้รับปริญญา 2 ใบ จากสองสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการศึกษา วิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้ใช้เครื่องมือที่เป็นสากลและทันสมัย และมี Professor เฉพาะทาง
หลักสูตรฯ มีรายวิชา เน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ครอบคุลม 5 สาขาหลัก ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เกิดการบูรณาการทางด้านการวิจัย เพื่อตอบโจทย์ ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา หลักสูตรฯ สามารถผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ และการวิจัยที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ อีกทั้งวิทยาลัยฯ มีโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น Liverpool John Moores University ประเทศอังกฤษ ด้านสรีรวิทยาการออกกำลังกาย ชีวกลศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัย Stanford ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านสมดุลอุณหภูมิภายใน นักมวยไทย มหาวิทยาลัย Mutah ประเทศจอร์แดน ด้านการตรวจสอบความตรงของแบบประเมินระดับความรู้สึกเหนื่อย (OMNI scales) ขณะออกกำลังกายฉบับภาษาไทย ฯลฯ เกิดผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติจาก ผลงานวิจัยเหล่านี้ จึงทำให้วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่รู้จัก เป็นผู้นำในการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้เป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาระดับชาติ และนานาชาติ นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย ฯ จะเป็นที่ต้องการของสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริการ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและความเป็นเลิศ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข การกีฬาแห่งประเทศไทย ฯลฯ
นอกจาก ความร่วมมือกับ Liverpool John Moores University แล้ว วิทยาลัยฯ ได้ส่งนักศึกษาไปทำวิจัยที่ National University of Singapore นักศึกษาได้ไปใช้เครื่องมือและไปทำวิจัยที่มหาวิทยาลัยนี้ มีความสัมพันธ์ระดับโคแล็ป มี Advisor ระดับ Professor และที่ University of Taipei วิทยาลัยฯ ได้ส่งนักศึกษาไปศึกษาดูงาน พร้อมนี้ University of Taipei ได้ส่งนักศึกษามาเรียน ศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่วิทยาลัยฯ ถือเป็นความร่วมมือการทำวิจัยและศึกษาร่วมกัน นอกจากนี้ ยังได้ส่งนักศึกษาไปทำวิจัย ระยะสั้น ที่ประเทศสิงคโปร์
หลักสูตรฯ มีการเรียนการสอน 2 แบบ คือแบบ ก และแบบ ข แบบ ก คือทำวิจัยอย่างเดียว ซึ่งนักศึกษาที่เข้ามาแบบ ก จะต้องมี GPA ระดับปริญญาโท 3.5 และมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ ระดับชาติ จำนวน 3 เรื่อง หรือระดับนานาชาติจำนวน 1 เรื่อง ส่วนแบบ ข คือ เรียน Coursework จำนวน ๑๒ หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งหากต้องการเข้าศึกษา Double Degree นักศึกษาจะต้องมีคะแนน TOEFL ที่ 6.5 คะแนนขึ้นไป นักศึกษาที่ทำวิจัยอย่างเดียวจะไม่มีวิชาบังคับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ Advisor ซึ่งสามารถลงวิชาเลือกได้ตามเห็นสมควรที่จะนำมาช่วยในการทำวิจัยให้เข้าใจมากขึ้น ส่วนนักศึกษาที่ต้องลงรายวิชา จะเน้น Advanced ด้าน สาขาที่เฉพาะของ Sports Science ซึ่งจะเป็นรายวิชาระดับขั้นสูง เป็นวิชาบังคับให้ลงก่อนไปทำวิจัย
เนื่องจากของหลักสูตรฯ แบ่งป็น 5 แขนง อาจารย์แต่ละท่าน จะเจาะลึกไปในแต่ละแขนง ซึ่งเป็น Innovation หรืองานวิจัยที่เป็น International Publication ฉะนั้นงานวิจัย ต้องลงลึกเรื่องอะไรใหม่ๆ เช่น Mechanisms การคิดค้นโปรแกรมออกกำลังกาย หรือสร้างอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนขึ้นมา์
หลักสูตรฯ สนับสนุนทุนการศึกษา เช่น ทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ครองราชสมบัติ ทุนจากบัณฑิตวิทยาลัย นอกจากนั้น จะมีอาจารย์ที่รับ ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ซึ่งถ้านักศึกษาตรงตามคุณสมบัติผ่านการคัดเลือก จะสามารถรับทุนกาญจนาภิเษกได้จากอาจารย์
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจทุกท่าน ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ในระดับปริญญาเอก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการทำวิจัย หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสาขาต่างๆ ของวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น สรีรการออกกำลังกาย ชีวกลศาสตร์ ผู้ฝึกสอนการกีฬา โภชนาการการกีฬา เวชศาสตร์การกีฬา จิตวิทยาการกีฬา สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Website ของวิทยาลัยฯ หรือ Website ของทางบัณฑิตวิทยาลัย โทรมาสอบถามได้ที่เบอร์โทรของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาการกีฬา หรือ e–mail โดยตรงมาที่อาจารย์ ซึ่งหลักสูตรมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้ข้อมูลและตอบทุกข้อสงสัยค่ะ
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี