Prof. Dr. Chartchalerm Isarankura-Na-Ayudhya
Dean of Faculty of Graduate Studies
ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Master of Science Program in Sports Science
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
เริ่มแรก ศาสตราจารย์ นพ. อวย เกตุสิงห์ ท่านเป็นบุคคลสำคัญ ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และได้รับขนานนามว่า "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์การกีฬาของประเทศไทย" ท่านมีความสนใจที่จะพัฒนาศักย ภาพของนักกีฬาไทยขึ้น จึงมีความร่วมมือกับทางภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธโธปิดิกส์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในการที่จะจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยเริ่มแรกได้จัดทำเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร ๒ ปี(ต่อเนื่อง) ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้เป็นหลักสูตร ๔ ปี และพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นหลักสูตรขั้นสูง ในระดับปริญญาโท ในสภาวะปัจจุบันรัฐบาลมุ่งเน้นแผน พัฒนากีฬาแห่งชาติ โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายมากขึ้นทั้งเพื่อมวลชน เพื่อความเป็นเลิศแล้วเพื่อกีฬาอาชีพ ดังนั้น หลักสูตรฯ จึงมีความคิดที่จะนำเอาวิทยาศาสตร์การกีฬา มาประยุกต์ใช้ทั้งทาง ด้านสมรรถภาพทางกายของประชาชน และประกอบกับประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ เราจึงให้ความสำคัญในการนำความรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬามาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเหลือบุคคลกลุ่มนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุอยู่ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน แล้วก็อยู่อย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นตรงนี้ ถือเป็นจุดเด่น ที่จะนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาพัฒนา ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อประชาชนแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปช่วยพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของนักกีฬาไทยไปสู่ในระดับสากลได้
วิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นพหุสหวิทยาการที่รวมหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ดังนั้นหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาจึงมุ่งเน้นการเรียนเฉพาะทางมากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย ๕ ศาสตร์หลักๆ คือ ๑. ด้านสรีรวิทยาการกีฬา ๒. ทางด้านชีวกลศาสตร์การกีฬา ๓. โภชนาการการกีฬา ๔. เวชศาสตร์การกีฬา ๕. จิตวิทยาการกีฬา ซึ่งถ้าขยายความในศาสตร์ทั้ง ๕ ศาสตร์ คือ ทางด้านสรีรวิทยาทางการกีฬาจะศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของระบบต่างๆของร่างกาย ซึ่งเราจะนำความรู้ในด้านนี้ไปใช้ฝึกนักกีฬาให้มีสมรรถภาพดีขึ้น หรือถ้าเป็นประชาชนทั่วไป คือ การเปลี่ยน แปลงภายในร่างกายที่เกิดมาจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬานั้นจะส่งผลดีต่อสุขภาพประชาชนได้อย่างไร
ด้านชีวกลศาสตร์การกีฬา จะเป็นศาสตร์เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวด้านคิเนเมติกส์ และคิเนติกส์ ในเชิงสองมิติและสามมิติเพื่อมาใช้ในการประเมินได้ทั้งด้านการแพทย์เช่นลักษณะการเดินของคนไข้ และ การเคลื่อนไหวในขณะเล่นกีฬา เช่น จังหวะการตีกอล์ฟ การเสิร์ฟลูกวอลเล่ย์บอลเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา ในด้านโภชนาการการกีฬา จะเกี่ยวข้องกับผลของสารอาหารชนิดต่างๆต่อสมรรถภาพร่างกายในการออกกำลังกายและการเล่นกีฬารวมทั้งในขณะฝึกซ้อมและก่อนการแข่งขัน นอกจากนี้ก็จะทางด้านสารกระตุ้น อาหารเสริม การจัดกลุ่มอาหารที่ควรได้รับ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา อย่างไรก็ตามในขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอาจมีการบาดเจ็บเกิดขึ้น ความรู้ด้านเวชศาสตร์การกีฬาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะช่วยดูแลทั้งทางด้านการป้องกันการบาดเจ็บ การรักษา รวมทั้งการฟื้นฟู ซึ่งบทบาทของนักวิทยาศาสตร์การกีฬาก็จะเข้าไปช่วยให้นักกีฬาได้กลับไปเล่นกีฬาได้โดยเร็ว และสุดท้าย คือ ศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาการกีฬาที่เน้นในเรื่องความคิด ความรู้สึกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของนักกีฬาหรือผู้ออกกำลังกาย การประเมินสภาพจิตใจและความพร้อมของนักกีฬาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแข่งขันที่นักกีฬามีความกดดัน รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้เยาวชน คนวัยทำงานผู้สูงอายุและบุคคลกลุ่มพิเศษได้มีการออกกำลังกายอย่างยั่งยืน
รูปแบบการเรียนการสอนมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ขณะนี้วิทยาลัยฯ กำลังดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรฯ เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของประเทศสู่ระดับนานาชาติ วิทยาลัยฯ มีคณาจารย์ผู้ฝึกสอนที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญทางการกีฬา สามารถ ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเครื่องมือที่พร้อมและทันสมัย หลักสูตรฯ มีการสำรวจความต้องการเพื่อฟังเสียงของลูกค้าและผู้ใช้บัณฑิต ฉะนั้นนักศึกษาที่เข้ามาเรียน หลักสูตรจะเติมเต็มทั้งในส่วนด้านวิชาการ การปฏิบัติ เน้นการฝึก การเป็นผู้นำ รวมถึงการนำนักศึกษาไปเสนอผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ตรงนี้หลักสูตรฯ พยายามที่จะให้นักศึกษามีความเชื่อมั่นในตนเอง ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ดี์
ขณะนี้หลักสูตรฯ มีความร่วมมือกับการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยมีคณาจารย์ มีเข้าไปเป็นที่ปรึกษา รวมถึงสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมเทควันโด สมาคมยกน้ำหนัก เป็นต้น และมีความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับ Liverpool John Moores University ที่ประเทศอังกฤษ และได้มีการส่งนักศึกษาระดับปริญญาโทในหลักสูตรเข้าไปศึกษาดูงาน
ด้านทุนการศึกษา หลักสูตรฯ มีทุนการ ศึกษาร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย เช่น ทุนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ ปี ครองราชสมบัติ สนับสนุนเป็นค่าหน่วยกิต และทุนไปนำเสนอผลงานวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนใหญ่นักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษาจะไปทำงานด้านวิชาการ เช่น เป็น อาจารย์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนในสมาคมกีฬาต่างๆ ตามสโมสรกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย รวมทั้งการเป็นนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัย
ขณะนี้หลักสูตรฯ มีความร่วมมือกับการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยมีคณาจารย์ มีเข้าไปเป็นที่ปรึกษา รวมถึงสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมเทควันโด สมาคมยกน้ำหนัก เป็นต้น และมีความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับ Liverpool John Moores University ที่ประเทศอังกฤษ และได้มีการส่งนักศึกษาระดับปริญญาโทในหลักสูตรเข้าไปศึกษาดูงาน
ขอเชิญชวนนักศึกษาและผู้สนใจทุกท่าน ที่มีความสนใจในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ไม่ว่าจะจบทางวิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุข แพทย์แผนไทยประยุกต์ และก็ทางด้านพละศึกษา ซึ่งทั้งอาจารย์และหลักสูตรมีความเชื่อมั่นว่า หากเข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดลของเรา หลักสูตรเรามีครบทั้ง ๕ ศาสตร์ รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี