Prof. Dr. Chartchalerm Isarankura-Na-Ayudhya
Dean of Faculty of Graduate Studies
ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
DOCTOR OF PHILOSOPHY PROGRAM IN MULTICULTURAL STUDIES (INTERNATIONAL) Ph.D. (Multicultural Studies)
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เรามีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องของภาษาและวัฒนธรรม และมีประเด็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมถึงความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา เชื้อชาติ และศาสนา ประกอบทางสถาบันได้ทำการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษามาก่อน และในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ สถาบันฯ มีความพร้อม จึงได้พัฒนาหลักสูตรเป็นปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ขึ้นมา เพื่อมุ่งศึกษาวิจัยทำความเข้าใจการแก้ปัญหาการกีดกันทางสังคม ที่เป็นผลมาจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม เพื่อให้บัณฑิตที่จบไปมีทักษะขั้นสูงจากการศึกษา และทำวิจัยด้านพหุวัฒนธรรม มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมในมิติต่างๆ ประเด็นการเรียนการสอนในหลักสูตรมีความหลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะแต่ในบริบทของประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับทางสังคม วัฒนธรรม ความหลากหลายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ซึ่งมันเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องที่นอกประเทศไทยออกไป เรื่องของกระแสโลกาภิวัฒน์ แม้แต่การเป็นประชาคมอาเซียน การรวมตัวกันระดับภูมิภาคของชนชาติพันธุ์ต่างๆ ในเพื่อนบ้านของเรา ตรงนี้มันมีประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้น เราจะทำยังไรเมื่อสังคมมีโจทย์เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น เราจำเป็นต้องมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมของการเปลี่ยนแปลง กระแสโลกาภิวัฒน์ การย้ายถิ่น การทำงาน แรงงานข้ามชาติ แม้แต่ความหลากหลายในเชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือแม้แต่การศึกษา ที่จะสนับสนุนส่งเสริมความหลากหลายเหล่านี้ด้วย
ตอนที่ช่วยกันออกแบบ และช่วยกันคิดตัวหลักสูตรขึ้นมา เราใช้ประเด็นหลักในเรื่องการศึกษา คือ การวิจัยของเราไม่ได้มาจากการใช้ศาสตร์นั้นหรือศาสตร์นี้ ศาสตร์มนุษยวิทยาหรือภาษาศาสตร์ แต่เราจะใช้ประเด็นของความหลากหลายทางสังคม และวัฒนธรรมที่เรียกว่าสหสาขาวิชา คือ เรามีมุมมองหลากหลายวิธีการที่จะมองปัญหาต่างๆ เหล่านี้ และจุดเด่นคือ เราจะทำการคัดเลือกนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาว่าสนใจตรงกับ scope ของโปรแกรมนี้หรือไม่ อาจารย์สามารถให้คำแนะนำนักศึกษาได้ และอีกหนึ่ง ประเด็นที่สำคัญ คือ Concept ของหลักสูตรฯ เราตีกรอบในเรื่องของความหลากหลายบนบริบทของสังคมเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประเด็นและพื้นที่เป็นตัวนำ ในเรื่องของทฤษฎีเกี่ยวกับความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมนิยมนั้นมันมีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะมาจากทางตะวันตก แต่หลักสูตรฯ จะมองบริบทในมุมของเอเชีย ซึ่งจุดนี้เรามองว่าเป็นจุดเด่นที่จะสามารถนำเสนอออกไป และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา ของเราเป็นที่แรกและที่เดียวที่ใช้ชื่อนี้เป็นชื่อหลักสูตรโดยตรง
หลักสูตรฯ มีความร่วมมือทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ทั้งส่วนต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดลเอง เช่น การทำงานร่วมกันกับสถาบันสิทธิและสันติศึกษา เพราะเรื่องของหลักสูตรจะมีความใกล้เคียงกัน มีความสนใจในเรื่องของสิทธิ การเคารพซึ่งกันและกันอันนั้นเป็นอีกมิติหนึ่ง ส่วนทางหลักสูตรเราจะเน้นเรื่องวัฒนธรรมมากกว่า จึงเป็นการร่วมมือกันในแง่ของสิทธิทางวัฒนธรรม กับทางสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ก็มีความสนใจร่วมกัน เช่น เรื่องของการย้ายถิ่น ในส่วนความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก จะเป็นการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในประเทศ เช่น การจัด workshop จัดอบรม จัดประชุมด้านพหุวัฒนธรรมนิยม นโยบายและแนวโน้มของวัฒนธรรมด้านต่างๆ ร่วมกันในระดับนานาชาติ สถาบันฯ ได้ร่วมมือกับสถานศึกษาในต่างประเทศ เช่น การเชิญอาจารย์ นักวิชาการอาคันตุกะมาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ให้กับอาจารย์และนักศึกษาที่สถาบัน เช่น อาจารย์จากสหรัฐอเมริกา โดยใช้โปรแกรมของฟุลไบรท์ เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติให้กับนักศึกษา อีกทั้งรวมถึงมีการแลกเปลี่ยนอาจารย์จากสถาบันฯ ไปร่วมสอนในสถาบัน การศึกษาที่ต่างประเทศเช่นกัน
เนื่องจากเป็นหลักสูตรนานาชาติ จึงมีทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ โดยมีนักศึกษาต่างชาติมากกว่า ประมาณ ๗๐ - ๘๐ เปอร์เซ็น ซึ่งตรงก็นี้เป็นข้อดีที่จะทำให้นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันได้ นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาที่มาจากเอเชีย ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศจีน และอื่นๆ เช่น จากสาธารณรัฐซิมบับเว นักศึกษาไทยจะได้เรียนรู้จากเพื่อนต่างชาติ อีกทั้งนักศึกษาต่างชาติก็ได้เรียนรู้บริบทวัฒนธรรมของสังคมไทยไปพร้อมๆ กัน
ส่วนใหญ่เป็นการสัมมนา การอภิปรายในชั้นเรียน coursework ส่วนประกอบหลักจริงๆ แล้วก็คือการทำวิจัย การทำวิทยานิพนธ์ ทางสถาบันมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ เช่น มีอาจารย์พิเศษมาบรรยาย มีกิจกรรมทางสังคมที่ให้นักศึกษามาพบปะทำความรู้จักกัน มีกิจกรรมที่ให้นักศึกษาเสนอความ ก้าวหน้าของงานที่ทำไป เป็นกำลังใจให้กัน เป็นแรงบันดาลใจให้กันและกัน และก็เชิญอาจารย์จากข้างนอกมาให้คำปรึกษาให้ comment ด้วย ส่วนการไปศึกษานอกสถานที่ หลักสูตรเราจะมีการสนับสนุนให้นักศึกษาออกไปเสนอผลงาน ทั้งเวทีในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนใหญ่นักศึกษาที่เข้ามาเรียนปริญญาเอก จะเป็นนักศึกษาที่มีอาชีพเกียวกับด้านวิชาการอยู่แล้ว อาชีพหลักๆ จะมุ่งไปทางด้านวิชาการในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีส่วนในการผลักดันและเกี่ยวข้องกับทางสังคม ในประเด็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและเข้าใจในระดับประเทศและภูมิภาค
ในหนึ่งปีการศึกษา เราจะรับนักศึกษาประมาณ ๕ คน ทั้งนี้ เพื่อการดูแลนักศึกษาได้อย่างใกล้ชิด เราสามารถที่จะมองว่านักศึกษาต้องการอะไร ขาดอะไร หลักสูตรของเรามีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ ที่เปิดกว้างและให้ความสนใจประเด็นใหม่ๆ มีความกระตือรื้อร้นที่จะทำเรื่องใหม่ ที่เราจะช่วยนักศึกษาในการพัฒนาและต่อยอด ในส่วนเรื่องของทุนการศึกษา หลักสูตรเรามีทุนการศึกษา เช่น สำหรับนักศึกษาไทยจะเป็นทุนกาญจนาภิเษก ระดับปริญญาเอก หรือทุนสนับสนุนการวิจัยบางส่วน
สิ่งสำคัญและจุดเน้นคือพิจารณาจากหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ว่าตรงกับความเชี่ยวชาญของอาจารย์ไหม ตรงกับ scope ของหลักสูตรหรือเปล่า เรามีอาจารย์หลายท่านที่เชี่ยวชาญและให้คำแนะ นำแก่นักศึกษาได้ เพราะการศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นการศึกษาที่เชิง ถ้าไม่เชี่ยวชาญเราก็จะไม่สามารถรับนักศึกษามา และให้คำแนะนำไม่ได้ เพราะนักศึกษาต้องมีประเด็นความสนใจและ Proposal มีประเด็นที่อยากศึกษา ตรงกับหลักสูตรไหม Proposal เป็นส่วนหนึ่งที่เราสามารถวัดได้ว่านักศึกษามีพื้นฐานระดับไหน ในการเข้ามาศึกษาระดับปริญญาเอก หรือเค้าต้องการที่จะเพิ่มเติมตรงไหนเป็นพิเศษ และดูเกี่ยวกับ Publication การตีพิมพ์ผลงานของนักศึกษา ผลงานทางวิชาการโดยไม่ได้จำกัดสาขาในระดับปริญญาโท เพราะหลักสูตรจะเน้นความเป็นสหสาขาวิชา แต่ว่ามีความสนใจในประเด็นเกี่ยวกับทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา ก็สมัครเข้ามาได้
ถ้าท่านใดสนใจเกี่ยวกับเรื่องพหุวัฒนธรรม ความหลากหลายวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และก็โจทย์ทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ก็ขอเชิญชวนให้เข้ามาศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษา ที่สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล หลักสูตรของเปิดกว้าง ให้นักศึกษาทุกสาขาวิชาที่สนใจในด้านนี้ หลักสูตรของเรามีอาจารย์ทั้งในสถาบันและ อาจารย์ที่เป็นเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญสามารถที่จะให้คำแนะนำ กับนักศึกษาที่สนใจด้านนี้ หลักสูตรมีความมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนานักศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางสังคม และวัฒนธรรม ในบริบทของคนในภูมิภาคเอเชียได้อย่างแน่นอนค่ะ
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร : ตุลาคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี