Current Student Introduction to graduate programs

หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว

ประธานหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
โครงการร่วมคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ นพ. ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
Image Description
รองศาสตราจารย์ นพ. ศิริไชย หงษ์สงวนศรี
"ผมในฐานะประธานหลักสูตร มีความมั่นใจว่านักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะได้ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมทางด้านสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว ทักษะในการปฏิบัติ เพราะหลักสูตรเรามุ่งเน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง ทำจริง เพื่อเป็นประสบการณ์มากกว่าความรู้จากทฤษฏี และจะได้เรื่องของกิจกรรมที่หลักสูตรจัดให้เพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์และพัฒนาเด็กและวัยรุ่นประเทศเรา ให้คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย"

ความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของหลักสูตร

เรามีทรัพยากรที่จะเรียนรู้อยู่มากมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ก็มีบทบาทสำคัญอยู่แล้วที่จะพัฒนาเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิต ทั้ง ในชุมชน โรงเรียน และพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องต่างๆ เช่น สมาธิสั้น รวมไปถึงเด็กที่เป็นโรคออทิสติก เพราะฉะนั้น ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ จริง จุดเด่นคือ เราจะเรียนรู้จากปัญหาจริงกับตัวผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต หากเราไม่มีทรัพยากรตรงนี้ เด็กต้องเรียนจากตำรา ไม่สามารถที่จะเจอประสบการณ์ตรงและไม่ได้สัมผัสเด็กที่มีปัญหา สุขภาพจิตจริงๆ นอกจากนี้ หลักสูตรได้มีกิจกรรมที่พัฒนาสุขภาพจิต รวมถึงกิจกรรมที่ลงไปในระดับโรงเรียน ไปค้นหาเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตและให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งสามารถสร้างกิจกรรมที่พัฒนาเด็กให้สามารถเรียนได้อย่างมีความสุข

รูปแบบการเรียนการสอน

หลักสูตรจะมีทั้ง ๓ แบบ มีทั้งทฤษฏี ปฏิบัติ และลงฝึกงานจริง ซึ่งในเรื่องของภาคทฤษฏีนั้นอาจารย์ในหลักสูตรฯ ส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ จิตแพทย์ และมีหมอเด็กกุมารแพทย์พัฒนาการ รวมถึงอาจารย์ด้านจิตวิทยา หลักสูตรจะมีอาจารย์ที่หลากหลายเฉพาะทางจากทั้ง ๓ สถาบัน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป คือจะได้เรียนกับอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์สูง มีชื่อเสียง ระดับประเทศและได้รับการยอมรับในศาสตร์ด้านนี้

สิ่งที่นักศึกษาจะได้รับจากการศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา

จากการศึกษาในหลักสูตร นักศึกษาจะได้รับความรู้ทางทฤษฏี จากอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญได้รับการยอมรับระดับประเทศ มีประสบการณ์ตรงในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหา การส่งเสริมสุขภาพจิตทั้งเด็กและวัยรุ่น รวมถึงครอบครัว คือ เรียนรู้จากของจริง เรามีความเชื่อว่าการที่เราจะไปพัฒนาคนอื่น เราต้องพัฒนาตนเองได้ดี หลักสูตรจะจัดให้มีการอบรมที่นอก เหนือจากวิชาในหน่วยกิต ที่พัฒนาตนในอีกหลากหลายเรื่อง อาทิเช่น หลักจิตตปัญญาศึกษา ที่ปัจจุบันกำลังเป็นที่รู้จัก เป็นที่นิยมทั่วโลก มีการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้น และมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญการบำบัดที่มีชื่อเสียงที่เรารวบรวมมาสอน ซึ่ง นักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้ จะเป็นคนที่มีความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ และพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้ดี

ปัจจุบันบุคลากรทางด้านนี้ในประเทศมีเพียงพอไหม

ปัจจุบัน บุคลากรที่ดูแลสุขภาพจิตและวัยรุ่นไม่เพียงพอ ตอนนี้ที่ดูแลหลักๆ จะเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยา และเรียนมาสาขาอื่น แต่มาทำงานเกี่ยวกับเด็กโดยมีความรู้จากประสบการณ์ต่างๆ การผลิตบุคลากรทางด้านจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา ไม่สามารถที่จะผลิตได้เร็วโดยที่ปัญหาต่างๆ ทางสุขภาพจิตมีความเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การเปลี่ยนแปลงบางส่วนจะมีผลด้านลบเกี่ยวกับจิตใจของเด็กในสังคมเยอะขึ้น เพราะฉะนั้นบุคลากรที่จะดูแลสุขภาพจิตจะน้อยมาก ส่วนหนึ่งที่ทำงานด้านนี้จะไม่ได้เรียนมาโดยตรง โดยเรียนจิตวิทยาสาขาอื่นแล้วมาทำงานโดยอาศัยประสบการณ์ตรง หลักสูตรนี้จะช่วยเสริมความรู้และประสบการณ์ให้เยอะขึ้น นักศึกษาที่จบมีความต้องการที่จะให้ไปทำงานในโรงเรียน เป็นโรงเรียนรุ่นใหม่ เป็นโรงเรียนที่ไม่ได้เน้นแต่ด้านความรู้ แต่ให้ความสำคัญทั้งบุคคล ให้ความใส่ใจเรื่องของสุขภาพจิต การพัฒนาสุขภาพด้านต่างๆ ปัจจุบันมีสถาบันเอกชนที่พัฒนาด้านสุขภาพจิตเด็กหลายสถาบัน เป็นที่ต้องการของผู้ปกครองที่ต้องการพัฒนาลูกในด้านต่างๆ ที่สำคัญจริงๆ คือ ความต้องการผู้ที่จะดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลทางด้านจิตเวช หรือแม้แต่ในโรงพยาบาลทั่วไปที่มีจิตแพทย์แต่คนไข้ก็มีเพิ่มขึ้น บางครั้งไม่มีเวลาให้คำ ปรึกษาดูแลผู้ป่วย นักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้ก็สามารถให้ความช่วยเหลือและทำหน้าที่ตรงนี้ได้ ที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือ ปัจจุบันโรงเรียนในต่างประเทศจะมีนักจิต- วิทยา เพื่อที่จะค้นหาเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต และมีกิจกรรมที่สามารถพัฒนาสุขภาพจิตของเด็ก แต่ในโรงเรียนที่เป็นการศึกษาปัจจุบันยังไม่ได้ให้ความสำคัญแต่ก็มีบางโรงเรียน ที่สนใจบุคลากรทางด้านนี้ไปดูแลฝ่ายแนะแนว ซึ่งเท่ากับว่าในอนาคตสังคมก็จะต้องการบุคลากรด้านนี้สูงมาก

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการนำไปใช้ประโยชน์

ส่วนใหญ่จะเป็นด้านสุขภาพจิต จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักศึกษาจะสนใจในด้านไหน ตัวอย่างเช่น ตอนนี้มีงานวิจัยของนักศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาคู่มือการเลี้ยงดูเด็ก เป็นผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้จริง ใช้สำหรับอบรมผู้นำชุมชนหรืออาสาสมัคร เพื่อนำไปแนะนำพ่อแม่ผู้ ปกครองที่มีลูกเด็กเล็กในชุมชนต่อได้ บางส่วนก็เป็นการศึกษาเรื่อง ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพจิตของเด็ก ผลกระทบจากเทคโนโลยี เช่น ศึกษาการใช้เทคโนโลยีมีผลต่อการพัฒนาทักษะของเด็ก ทักษะที่สำคัญทางด้านการอ่าน การเขียน หรือการสะกดคำ ทางด้านคณิตศาสตร์ ผลวิจัยพบว่าเด็กที่อยู่กับเทคโนโลยีมากแทนที่จะมีผลดี กลับได้ผลว่าเด็กที่ใช้เทคโนโลยีมาก มีการพัฒนาน้อยกว่าเด็กที่ใช้เทคโนโลยีน้อย เป็นผลงานวิจัยที่ตอบปัญหาให้สังคม ได้ดี ทำให้เรารู้ว่าการปล่อยให้เด็กเรียนรู้กับเทคโนโลยีจากแทปเล็ต อย่างเดียวจะมีผลดีหรือไม่อย่างไร ส่วนงานวิจัยอื่นๆ เช่นการศึกษาปัญหาพฤติกรรมทางเพศจากการใช้เทคโนโลยีว่าสัมพันธ์กันหรือไม่ ผลการวิจัยของนักศึกษาพบว่า เด็กที่อยู่กับเทคโนโลยีเยอะก็จะพบปัญหาเกี่ยวกับด้านนี้เยอะ และเด็กที่ใช้ internet เกี่ยวกับด้านเพศเยอะ ก็จะมีเพศสัมพันธ์เร็วก่อนวัยอันควรมากกว่าเด็กที่ยังเข้าไม่ถึง ซึ่งงานวิจัยเรื่องนี้ก็สามารถตอบโจทย์สังคมให้กับประเทศของเรา

คุณสมบัติผู้ที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตร

นักศึกษาที่จะเข้ามาเรียนหลักสูตรฯ มีความหลากหลายมาก บางคนก็จบจิตวิทยาโดยตรงหรือจิตวิทยาทั่วไปและต้องการความรู้เฉพาะด้านจิตวิทยาเด็กมากขึ้น บางคนก็เป็นพยาบาลแต่ต้องการความรู้ที่จะไปพัฒนาเด็กเยอะขึ้น คนที่จบทางครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ก็สนใจมาเรียนเหมือนกัน หลักสูตรเราค่อนข้างจะเปิดกว้าง การคัดเลือกจะมีคณะกรรมการสัมภาษณ์ คือ อาจารย์ประจำหลักสูตรสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งประมาณ ๖ – ๗ คน ประเด็นที่เราเลือกจริงๆ คือเป้าหมาย ว่านักศึกษาอยากจะได้ความรู้จากการ ศึกษาไปทำอะไร เช่น เป็นครูอาจจะอยากไปค้นหาเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิต จะไปช่วยพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพ จิตดีขึ้นอย่างไร จะรับเพราะมีความตั้งใจที่จะไปทำอะไร ถ้ากรรมการเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมและประเทศมาก ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณา บางคนทำหน้าที่เกี่ยวกับด้านนี้อยู่แล้วและสามารถที่จะนำไปพัฒนางานที่ทำได้อันนี้ก็อยากรับเข้ามาเรียน

ทุนหรือสวัสดิการของหลักสูตร

ทุนเฉพาะของหลักสูตรยังไม่มี แต่จะมีทุนของบัณฑิตวิทยาลัย ทุนสมาคมศิษย์เก่ามหิดลประเภทต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน ส่วนในคณะแพทยศาสตร์รามาฯ มองเห็นความสำคัญของนักศึกษาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทั้ง ป.โท และ ป.เอก และเราก็ทราบดีว่านักศึกษาบางคนมีอุปสรรคในด้านทุนการศึกษา และตอนนี้หลักสูตรกำลังวางแผนการให้ทุนสำหรับนักศึกษา ป.โท เพื่อสนับสนุนการทำวิจัย หรือสามารถเรียนได้อย่างไม่ต้องกังวล

ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ

ยินดีต้อนรับทุกท่าน ที่สนใจด้านสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว ถ้ามีความสนใจหรือเป้าหมายในการนำความรู้ไปพัฒนาตนหรือเด็ก ซึ่งจะมีประโยชนกับสังคมและประเทศ ก็สามารถสมัครเข้ามาได้ ทั้งที่จบจิตวิทยาโดยตรง ด้านครุศาสตร์ อยากไปดูแลเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิต หรือ พยาบาลที่จะไปพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น หรือสาขาอื่นๆ ที่ต้องการนำความรู้ไปพัฒนาเด็กวัยรุ่นทางด้านสุขภาพจิต กรรมการจะพิจารณาเป็นพิเศษ จบสาขาอื่นๆ ก็สามารถที่จะเรียนได้พูดคุยว่ามีเป้าหมายอย่างไร ผมในฐานะประธานหลักสูตรมีความมั่นใจว่าเด็กที่ผ่านหลักสูตรจะได้ประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม ทางด้านสุขภาพจิตเด็กและครอบครัว ทักษะในการปฏิบัติ เพราะหลักสูตรเรามุ่งเน้นให้นักศึกษา ลงมือปฏิบัติจริงทำจริงเพื่อเป็นประสบการณ์มากกว่าความรู้จากทฤษฏี และจะได้เรื่องของกิจกรรมที่หลักสูตรจัดให้เพื่อพัฒนาตนเอง ในด้านต่างๆ เพื่อไปพัฒนาเด็กและวัยรุ่นประเทศเราให้คุณภาพทัดเทียมกับต่าง ประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

งานวิเทศสัมพันธ์ สื่อสารองค์กรและภารกิจพิเศษ และงานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 131-137
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 112-115
อีเมล : panee.nus@mahidol.ac.th

For more inqueries & assistants, please call us gradinter@mahidol.ac.th or LINE Official @160ohrzm

To enable academic, professional,as well as career development programs to produce nationally and internationally competence human resources for 21st century