Alumni Introduction to graduate programs

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (หลักสูตรภาคพิเศษ)

อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
MASTER OF ENGINEERING PROGRAM IN LOGISTICS AND SUPPLY CHAIN (SPECIAL PROGRAM)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์ ดร. เดชรัตน์ สัมฤทธิ์
Image Description
อาจารย์ ดร. เดชรัตน์ สัมฤทธิ์
"ผลิตมหาบัณฑิตผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและประยุกต์ พหุวิทยาการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มีทักษะการทำวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลงานวิจัยอย่างเชี่ยวชาญ เป็นผู้นำความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ"

จุดเด่นของ สาขาวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

Healthcare Logistics

  • เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) บูรณาการและ ผสมผสานศาสตร์ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการอุตสาหกรรม การบริหารธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเข้ากับศาสตร์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพี่อแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ

  • เป็นหลักสูตรแห่งแรกของประเทศไทยในด้านระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ ที่เปิดภายใต้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • หลักสูตรเหมาะสำหรับ ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานระดับปฏิบัติการ และผู้ที่เพิ่งจบปริญญาตรี (สาขาพยาบาล เภสัช วิทยาศาสตร์การแพทย์ และ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) ที่สนใจในการบริหารจัดการระบบห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ

  • การเรียนการสอนเน้นการประยุกต์ทฤษฎีเพี่อนำไปแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา ระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสุขภาพได้จริงในองค์กรภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม โรงพยาบาล ฯลฯ

Industrial and Service logistics

  • หลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) บูรณาการและ ผสมผสานศาสตร์ ด้านโลจิสติกส์ วิศวกรรมอุตสาหการ และการบริหารการจัดการเพี่อแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานในภาคธุรกิจ /ภาคอุตสาหกรรม

  • เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานระดับปฏิบัติการ และผู้ที่เพิ่งจบปริญญาตรี (สาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และ สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) ที่สนใจในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน

  • หลักสูตรเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาโลจิสติกส์และระบบห่วงโซ่อุปทาน

  • การเรียนการสอนเน้นการประยุกต์ทฤษฎี เพี่อนำไปแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานได้จริงในองค์กรภาคธุรกิจ /ภาคอุตสาหกรรม

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แผน ก แบบ ก (2)

  1. สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือคาดว่าจะสําเร็จการศึกษาก่อนวันเปิดภาคการ ศึกษาในหลักสูตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยา-ศาสตรบัณฑิต หลักสูตรในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ บริหารธุรกิจบัณฑิตหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
    IELTS ที่ระดับ 3 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL INTERNET BASED ที่ระดับ 32 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ที่ระดับ 400 คะแนนขึ้นไป
    MU GRAD TEST (Computer Based) ที่ระดับ 36 คะแนนขึ้นไป
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศ เรื่องมาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษฯ ที่ : https://graduate.mahidol.ac.th/thai/current-students/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา โทรศัพท์ 0-2441-4125 ต่อ 221-222
  4. ผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นอาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
  5. กรณีคุณสมบัติผู้สมัครไม่ตรงตามที่หลักสูตรสาขาวิชากำหนดให้แนบ คำร้องขออนุมัติสมัครสอบ โดยผ่านอาจารย์ผู้รับผิดชอบการสอบคัดเลือกของหลักสูตรสาขาวิชา ก่อนสมัคร (ดาวน์โหลดคำร้อง ขออนุมัติสมัครสอบได้ที่ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/) เมนูแบบฟอร์มรับสมัครต่างๆ)

แผน ข

  1. สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต หลักสูตรในสาขาวิชาวิทยาศาสร์สุขภาพ บริหารธุรกิจบัณฑิต หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
  2. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
  3. ประสบการณ์การทํางานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน บริการสุขภาพ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 3 ปี (ต้องแสดงเอกสารรับรองประสบการณ์การทำงานเมื่อยื่นใบสมัครด้วย)
  4. ผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองหรือผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่สมัคร) คือ
    IELTS ที่ระดับ 3 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL INTERNET BASED ที่ระดับ 32 คะแนนขึ้นไป หรือ
    TOEFL ITP (เฉพาะที่จัดสอบโดยบัณฑิตวิทยาลัย) ที่ระดับ 400 คะแนนขึ้นไป
    MU GRAD TEST (Computer Based) ที่ระดับ 36 คะแนนขึ้นไป

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา

  • บุคลากรระดับปฏิบัติการถึงผู้บริหารในองค์กรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทั้งในกิจการบริการสุขภาพ การผลิตสินค้าและบริการในแผนกที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เช่น ขนส่ง คลังสินค้า จัดซื้อ วางแผนและควบคุมการผลิต การบริการ

  • ที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

  • วิทยากรหรือผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

  • นักวิจัยในสาขาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

ผู้สนใจเข้าศึกษา สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

งานวิเทศสัมพันธ์ สื่อสารองค์กรและภารกิจพิเศษ และงานรับนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 131-137
โทรศัพท์ : 02 441 4125 ต่อ 112-115
อีเมล : panee.nus@mahidol.ac.th
อีเมล : gradthai@mahidol.ac.th

For more inqueries & assistants, please call us gradinter@mahidol.ac.th or LINE Official @160ohrzm

To enable academic, professional,as well as career development programs to produce nationally and internationally competence human resources for 21st century